ผลของการฝึกเล่นหมากล้อมที่มีต่อการคิดบริหารจัดการตนกรณีศึกษาของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Authors

  • ชนพัฒน์ อภิชาติเกรียงไกร Nakhon Ratchasima Rajabhat University
  • สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะ

Keywords:

แผนการฝึกเล่นหมากล้อม , การคิดบริหารจัดการตน , การพัฒนานักศึกษา

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดบริหารจัดการตนของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลอง 2) เปรียบเทียบการคิดบริหารจัดการตนหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รวม 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน กลุ่มควบคุม 10 คน จากนักศึกษาทั้งหมด 687 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการฝึกเล่นหมากล้อม โดยจัดกิจกรรมทั้งหมด 11 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลา 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 22 ชั่วโมง และแบบวัดการคิดบริหารจัดการตนจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.913 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง นักศึกษากลุ่มทดลองมีการคิดบริหารจัดการตนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีการเปลี่ยนแปลงระดับ 4 ด้าน ได้แก่ การใส่ใจจดจ่อ การวางแผน การยืดหยุ่นทางความคิด การประเมินตนเอง ส่วนด้านที่ไม่เปลี่ยนได้แก่ การยับยั้ง 2) หลังการทดลอง นักศึกษากลุ่มทดลองมีการคิดบริหารจัดการตนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ดวงกมล สวนทอง. (2556). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนแบบสแกฟโฟลด์ที่ส่งเสริมจิตลักษณะฉันทะ

และความสามารถในการเขียนบทความเชิงวิชาการของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต เพชรบูรณ์ [ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดาริกา ดวงบุ. (2564). การสร้างแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐานสำหรับ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครพนม [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนพล เตียวัฒนานนท์. (2563). ความสัมพันธ์ของการเรียนหมากล้อมกับผลการเรียนวิชาหลัก [สารนิพนธ์ มหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, ปนัดดา ธนเศรษฐกร, และรพิน เลิศอาวัสดา. (2560). การประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กปฐมวัย. การประชุมวิชาการการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ครั้งที่ 29 กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2555). การศึกษาและประเมินรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดเชิงบริหารใน เด็กไทย. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประยุทธ ไทยธานี. (2560). ประสบการณ์ความเครียดที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่องของ นักศึกษาปริญญาตรี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

พชรภรณ์ เชียงสิน. (2552). ประสบการณ์การเล่นหมากล้อมและจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มติ ทาเจริญศักดิ์. (2560). กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมในการเล่นหมากล้อมและผลของการเล่นหมากล้อมต่อการพัฒนาการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลภณ จิรโศภิน. (2562). วิเคราะห์ศาสตร์การบริหารจัดการผ่านทักษะทางปัญญา 11 ประการของหมากล้อม. บทความวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 25(2), 78-93.

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). 3 ทศวรรษ ที่สุดของการทำงาน ของด้านทักษะ EF. กรุงเทพฯ: จัดทำโดย บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด.

Anderson, V. (2002). Executive function in children: Introduction. Child Neuropsychology, 8, 69-70.

Andrew Edward Finch. (2007). Baduk and Second Language Learning; Effortful study and Balanced Flow (Kyungpook National University).

Diamond, A., et al. (2007). The Early Years: Preschool Program Improves Cognitive Control. Science, 318, p. 1387-1388. https://doi.org/10.1126/science.1151148

Earl K. Miller and Jonathan D. Cohen (2001) An Integrative Theory of Prefrontal cortex Function. Annual Review of Neuroscience.

Greene, R. W. (2009). Lost At School: Why Our Kids With Behavioural Challenges Are Falling Through The Cracks & How We Can Help Them. New York: Scribner.

Kim, S. H., Lee, Y. S., Kim, N. N., Cheong, J. H., & Han, S. H. (2014). Baduk (the Game of Go) improved cognitive function and brain activity in children with attention deficit hyperactivity disorder. Psychiatry Investigation, 11(2), 143.

doi: 10.4306/pi.2014.11.2.143

Lin, Q., Cao, Y., & Gao, J. (2015). The impacts of a Go-game (Chinese chess) intervention on Alzheimere disease in a Northeast Chinese population. Frontiers in Aging Neuroscience, 7, 163. doi: 10.3389/fnagi.2015.00163

Mei Wang. (2021). Effects of playing Go for education and psychological treatment. University of Trier, Research Cluster “Cultures in Transitions in East Asia and Europe”, Universitätsring 15, 54296 Trier, Germany: Vol. XI (LXXIII) No. 2/2021.

Parson, R. (2001). An investigation into instruction available on the world wide web. Retrieved July 15, 2021, from http://wwww.osie.on.ca_/rparson/out1d.htm

Roehler, C.V. and Cantlon, S.J. (1996). Scaffolding secondary student reading and studying of science and math textbooks. Retrieved July 20, 2021.

Thorell, L. B., Lindqvist, S., Nutley, B. S., Bohlin, G. and Klingberg, T. (2009). Training and transfer effects of executive functions in preschool children. Developmental Science, 12(1), 106-113.

Downloads

Published

2023-06-30

How to Cite

อภิชาติเกรียงไกร ช., & โปร่งสันเทียะ ส. (2023). ผลของการฝึกเล่นหมากล้อมที่มีต่อการคิดบริหารจัดการตนกรณีศึกษาของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. APHEIT JOURNAL, 29(1), 24–34. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/260847

Issue

Section

Research Articles