รูปแบบการบริหารการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน

Authors

  • บุณยวีร์ โชคประเสริฐสม -
  • วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล
  • อัจฉรา วัฒนาณรงค์
  • ศักดิ์ชัย นิรัญทวี

Keywords:

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน , อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อตรวจสอบรูปแบบเชิงทฤษฎีของปัจจัยดังกล่าวกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 508 คน จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และมีประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยการใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยแสดงว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อศักยภาพในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยด้านแรงจูงใจ 2) กลุ่มตัวแปร 3 กลุ่มรวม 7 ตัวแปร ได้แก่ นโยบาย สภาพแวดล้อมในการทำงาน งบประมาณ ความรู้ความเข้าใจในงาน ความมั่นคงในอาชีพ กระบวนการ และขวัญและกำลังใจในการทำงานร่วมกันอธิบายศักยภาพในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนได้ร้อยละ 60.7 และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้นทางด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิแสดงว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด ส่วนผลการประเมินโดยผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบ แสดงว่า มีความเป็นไปได้มากและมีประโยชน์มากที่สุดแ

References

กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2557). TQM การบริหารเพื่อคุณภาพโดยรวม. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

จันทร์เพ็ญ มีนคร. (2557). การพัฒนาทางด้านวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 40-49.

จิตราภา กุณฑลบุตร และคณะ. (2562). การศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 1-12.

ชุมพล รอดแจ่ม นวลละออ แสงสุข วิรัช วรรณรัตน์ และวุฒิพล สกลเกียรติ. (2561). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยสู่การเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 56-68.

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 39-46.

ดวงเดือน ภูตยานันท์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, วิเชียร เกตุสิงห์ และไพโรจน์ สถิรยากร. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(2), 367-376.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย.วารสารศึกษาศาสตร์ มธส, 11(1), 35

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2553). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประภัสสร พลาบดีวัฒน, อาภรณ์ ดีนาน, และนุจรี ไชยมงคล. (2560). ปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(4), 21-31.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2563). ครูในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39(1), (15-24).

ประสิทธิชัย เดชขำ. (2557). เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28 (85), 189-203.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 (1 พฤษภาคม 2562) ราชกิจจานุเบกษา 136(57 ก)

พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562. (26 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. 136(57ก), 102-104.

พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550. (16 ธันวาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา. 124(101ก), 7-11.

พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546. (13 ตุลาคม 2546). ราชกิจจานุเบกษา. 120(107ก), 1-32.

เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์ และปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม. (2558). การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 8(1), 33-40.

เพ็ญศรี จันทร์อินทร์ ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และยุภาดี ปณะราช. (2555). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(20), 13-22.

เพียงเดือน เกิดอําแพง และชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา. (2564). การพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนไทย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(2), 261-274.

ยุภาดี ปณะราช. (2564). สถิติเพื่อการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ ณรงค์ พิมสาร และณัฐพล ชุมวรฐายี. (2559). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2), 106-116.

ศิริวดี วิวิธคุณากร. (2564). การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 7 ปรับปรุงใหม่).กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ นัยพัฒน์. (2554). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Darling-Hammond, L. (2012). Creating a comprehensive system for evaluating and supporting effective teaching. Stanford, CA: Stanford center for Opportunity Policy in Education.

Duc Huu Pham. (2021). The Professional Development of Academic Staff in Higher Education Institution. Journal of Teacher Education for Sustainability. 23(1), 115-131.

Herzberg, Frederick and Others. (1969). The Motivation to work. New York : Jon Wiley and Sons.

Luthan, Fred. (1998). Organizational Behaviors. (Eight Edition). Mc. Graw-Hill International Edition. Boston messachusetts. 170-176.

Maslow, Abraham H. (1970). Motivation and Personality. New York : Harpers and Row.

Stufflebeam, D. (2001). Evaluation models. New Directions in Evaluation, 89, 7-98.

Downloads

Published

2023-06-30

How to Cite

โชคประเสริฐสม บ. ., ภู่วัฒนกุล ว. ., วัฒนาณรงค์ อ. ., & นิรัญทวี ศ. . (2023). รูปแบบการบริหารการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน. APHEIT JOURNAL, 29(1), 65–78. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/264024

Issue

Section

Research Articles