รูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ -
  • วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล
  • โกศล มีคุณ
  • ศักดิ์ชัย นิรัญทวี

Keywords:

รูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย , การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย , สถานศึกษาระดับปฐมวัยสังกัดกรุงเทพมหานคร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงาน และสร้างรูปแบบและประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนที่เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่า มีค่าความเชื่อมั่นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α) อยู่ระหว่าง 0.95-0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์เพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และของญี่ปุ่น ทั้ง 5 ด้าน ส่วนใหญ่มีประเด็นที่เหมือนกัน 2) ผลวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีปัจจัย 9 ด้าน ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย โดยปัจจัย 9 ด้านดังกล่าวร่วมกันทำนายผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย ได้ร้อยละ 85.4 และผลการตรวจสอบรูปแบบเชิงทฤษฎี โดยการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล พบว่า โมเดลปัจจัยเชิงทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักในการส่งผลสูงสุด คือ ด้านผู้ปกครองและชุมชน รองลงมา คือ ด้านครูผู้สอน และ 3) ผลประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย PIE Model โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานการศึกษาไทย 2561 (Education in Thailand). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

การศึกษาปฐมวัยกับศึกษานิเทศก์ปฐมวัย. (2560). การจัดการศึกษาปฐมวัยในสังกัดกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 9 สิงหาคม 2563 จาก https://www.facebook.com/1901228863442471/posts/

เชิญตะวัน สุวรรณพานิช. (ม.ป.ป.). ญี่ปุ่น-สอนเด็กให้มีคุณภาพต้องเริ่มตั้งแต่-“อนุบาล”. สืบค้น 9 สิงหาคม 2563 จาก https://th.theasianparent.com/ญี่ปุ่น-สอนเด็กให้มีคุณภาพต้องเริ่มตั้งแต่-“อนุบาล”

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. 2(1), 68-74.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2561). นโยบายจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=51448&Key=news_act

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

รัฐกุล. (2563). หน้าที่ของคุณครูปฐมวัย…บทบาทที่ยิ่งใหญ่ เป็นมากกว่าอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.rathakun.com/teacher-action/

สรายุทธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม Cronbach’s alpha. สืบค้นเมื่อ 9

พฤษภาคม 2563, จาก http://www.ipernity.com.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2554). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักการศึกษา.กรุงเทพมหานคร (2564). รายงานสถิติการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 จาก https://webportal.bangkok.go.th/ upload/user/00000116/PTay/EbookStat64.pdf

สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564-2569). กรุงเทพฯ: กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงานผลการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยของไทยและต่างประเทศ กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กรุงเทพมหานคร.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2561). การจัดการศึกษาปฐมวัยประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, จาก http://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/Nov2561-3.pdf

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้น 9 สิงหาคม 2563 จาก http://planning2.

mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3rded.). New York:

Harper and Row.

Education in Japan Community. (2018). Japanese Preschools & Kindergartens. Retrieved

March 1, 2020, from https://educationinjapan.wordpress.com/resource-room/

Japanese-preschools-kindergartens

Newby et al. (2000). Educational Technology for Teaching and Learning. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

Published

2023-06-30

How to Cite

จันทร์ประเสริฐ ช., ภู่วัฒนกุล ว. ., มีคุณ โ., & นิรัญทวี ศ. . (2023). รูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. APHEIT JOURNAL, 29(1), 35–50. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/264039

Issue

Section

Research Articles