การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากลระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • สุภาวดี คำนาดี Office of The Basic Education Commission : sesaobkk1
  • วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล
  • อัจฉรา วัฒนาณรงค์
  • ศักดิ์ชัย นิรัญทวี

Keywords:

รูปแบบ, การบริหาร , สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา , เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาต่อการเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล  ตรวจสอบรูปแบบเชิงทฤษฎีของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพื่อการเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพื่อการเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ผ่านการประเมินระดับการบริหารจัดการระบบคุณภาพระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Office of The Basic Education Commission Quality Award: OBECQA) จำนวน 179 โรงเรียน  โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis: MRA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM)  ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มปัจจัยภายในและกลุ่มปัจจัยภายนอกส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาต่อการเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพื่อเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล ประกอบด้วย 10 ตัวแปร ร่วมกันพยากรณ์การเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากลได้ร้อยละ 83.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพื่อเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และกลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนมาตรฐานสากล ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ พบว่าผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ญาณิศา บุญจิตร์. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย.(2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด.(2555). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร.กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์.(2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย.วารสารศึกษาศาสตร์ มธส, 11(1), 35

พูนสุข หิงคานนท์. (2540). การพัฒนารูปแบบการจัดองค์การของวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนก โสภาพิศ.(2553).การพัฒนารูปแบบการเตรียมพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2566). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2560). รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา.วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), 261-273.

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติปี2563-2564 TQA Criteria for Performance Excellence Framework. พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตะวันออกจำกัด (มหาชน).

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(2565). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนมาตรฐานสากลปี2565-2568. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. (2541). โมเดลคืออะไร. วารสารวิชาการ. 1(2),22 - 26.

Ishak,A.H., Osman,M.R.,Manan,S.K.,& Din,G. (2016). Illustrating the Development of Quality Management Instrumentation: A Systematic Literature Review. Springer

Science+Business Media Singapore, 811- 822.

Newby, T. J., Stepich, D. A., Lehman, J. D., & Russell,J. D. (2000). Educational Technology for Teachingand Learning.2nd edition. NJ : Merrill/Prentice-Hall.

Downloads

Published

2023-06-30

How to Cite

คำนาดี ส. ., ภู่วัฒนกุล ว. ., วัฒนาณรงค์ อ. ., & นิรัญทวี ศ. . (2023). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเข้าสู่เกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากลระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. APHEIT JOURNAL, 29(1), 51–64. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/264130

Issue

Section

Research Articles