Editorial Note

Main Article Content

Walailak Journal of Social Sciences

Abstract

วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562 ฉบับความเป็นธรรม ความรุนแรงและความไม่เท่าเทียมในสังคม กล่าวถึง ความ เป็นธรรมกับอำนาจที่ถูกครอบงำ อาจนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมในสังคม และความรุนแรง การกล่าวอ้างถึงความเป็นธรรมต้องเกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนมุมมอง ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่ไร้อคติ ไร้การผูกมัดความคิด การสร้างการยอมรับในความหลากหลายและ เคารพความต่างของผู้คนในสังคม แน่นอนเมื่อเกิดการปรับเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้แล้ว ผลที่ ตามมาย่อมไร้ความรุนแรงและความไม่เท่าเทียมในสังคม

วารสารฉบับนี้จึงได้รวบรวมบทความที่หลากหลาก และบทความหลักที่น่าสนใจคือ บทความแรกที่หาคำตอบให้กับการจัดศาสตร์การสอนเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม และ บทความที่สองที่ลดช่องว่างระหว่างความคิดตะวันตกและพุทธกับเรื่องของสิทธิมนุษยชน สำหรับวารสารนี้ได้คัดเลือกบทความจำนวน 7 บทความ ดังนี้

เริ่มต้นด้วยบทความเรื่อง “ศาสตร์การสอนเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม: ทฤษฎีเชิง วิพากษ์ว่าด้วยศาสตร์ครุศึกษา” โดย ออมสิน จตุพร เป็นบทความวิชาการที่ผู้เขียนได้ ตั้งข้อสังเกตและการตั้งคำถามได้อย่างน่าสนใจ ถึงสภาวะพหุวัฒนธรรมกับความหลาก หลายของผู้คน ผู้เรียน ผนวกความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจอันนำไปสู่ระบบ การศึกษาที่ไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรม แล้วจะทำอย่างไรให้การเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และนำไปสู่การสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมในพื้นที่ของโรงเรียนได้ ดังนั้นการสร้าง ศาสตร์การสอนและหลักสูตรผ่านทฤษฎีเชิงวิพากษ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมควรมีการ ปรับเปลี่ยนและให้ความสำคัญต่อมิติด้านอารมณ์และความรู้สึกเพื่อสร้างจิตสำนึกเชิง วิพากษ์ ผ่านปฏิบัติการของศาสตร์การสอนเชิงวิพากษ์ วิธีวิทยาการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ตลอดจนวิธีการศึกษาเรื่องเล่าด้วยการสะท้อนความคิดจากอัตชีวประวัติ เพื่อลดความ ลักลั่นที่ไม่ลงรอยกันในพื้นที่ทางการศึกษาและวาทกรรมการปฏิรูปการศึกษา

บทความที่สองเรื่อง “สิทธิมนุษยชนในพุทธศาสนา: วิเคราะห์โดยกรอบคิดแบบตะวัน ตก” โดย อำนวย ยัสโยธา เป็นบทความวิชาการที่ผู้เขียนนำกรอบคิดและภาษาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนแบบตะวันตก 3 ประเด็น ดังนี้ ความเสมอภาค เสรีภาพ และภราดรภาพ มาอธิบายหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา หากพิจารณากรอบคิดสิทธิมนุษยชน แบบตะวันตก เป็นความพยายามที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นอยู่จริงทั่วโลก ในขณะที่กรอบเชิงพุทธอธิบายถึงสิ่งที่ควรจะเป็น ดังนี้หากต้องการให้เกิดการประยุกต์ สองระบบคิดนี้เข้าด้วยกัน จึงเป็นความพยายามที่จะก้าวออกจาก สิ่งที่กำลังเป็น ไปสู่ สิ่งที่ควรจะเป็น ซึ่งสองสิ่งนี้มีช่องว่างระหว่างกันพอสมควร แต่ถ้าจะก้าวข้ามไปให้ได้ ทุกฝ่ายต้องเปิดใจให้กว้าง พร้อมที่จะยอมรับจุดด้อยในระบบคิดของฝ่ายตน แล้วมอง หาจุดเด่นของอีกฝ่ายมา ‘เติมเต็ม’ และใช้ ‘ตัวเติมเต็ม’ เป็นเสมือนสะพานเชื่อมเข้า ด้วยกัน แต่ก็มิใช่ง่ายนัก เพราะกำแพงแห่งแนวคิดยังเป็นอุปสรรคขวางกั้นอยู่

บทความที่สามเรื่อง “ผลของความรุนแรงในครอบครัวจากการดื่มสุรา: บทวิเคราะห์ ข่าวหนังสือพิมพ์ระหว่างปี 2554-2558” โดย กันยปริณ ทองสามสี และอิสระ ทองสาม สี เป็นบทความวิจัยที่วิเคราะห์ข่าวหนังสือพิมพ์รายวันระหว่างปี 2554-2558 อันปรากฏ เหตุความรุนแรงในครอบครัวอันเนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้กรอบ แนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรงขององค์การอนามัยโลก ผลของการวิจัยน่าสนใจ และพบ ว่า จำนวนข่าวที่นำเสนอการดื่มเครื่องดื่มแอล-กอฮอล์แล้วนำไปสู่ความรุนแรงมีจำนวน 321 ข่าว และพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการ-กระทำความรุนแรงต่อบุคคลในครอบครัวจำนวน 38 ข่าว ส่วนใหญ่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายทางกาย โดยใช้อวัยวะของร่างกายเป็น หลัก รองลงมาคือมีด เหตุการณ์ส่วนใหญ่มีผู้ได้รับความรุนแรงเพียงคนเดียว บริเวณที่ เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงมักเกิดในเขตที่พักอาศัย ผู้ก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา รองลงมาคือบิดาและบุตร ผู้ได้รับความรุนแรงส่วน ใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน รองลงมาคือกลุ่มเด็กปฐมวัย ผลลัพธ์ของความรุนแรงก่อให้เกิด การบาดเจ็บทางกาย และเสียชีวิต

บทความที่สี่เรื่อง “การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติพื้นที่เชียงแสนภายใต้บริบทเขต เศรษฐกิจพิเศษชายแดน” โดย นพชัย ฟองอิสสระ เป็นบทความวิจัย ที่สำรวจสถาน การณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติในพื้นที่เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนและศึกษายุทธศาสตร์การจัดการชุมชนเพื่อพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ส่งผลต่อชุมชน เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน มีกลุ่มแรงงานข้ามชาติ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรงงานจีนส่วน ใหญ่อยู่ในเรือบรรทุกสินค้า และผู้ประกอบ ส่วนแรงงานเมียนมาเป็นกลุ่มรับจ้างทั่วไป และงานใช้แรงงาน และกลุ่มแรงงานสปป.ลาวเป็นกลุ่มที่อยู่ในภาคธุรกิจบริการ ซึ่งทำให้ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จากความต้องการการบริโภคสินค้าขั้น พื้นฐานภายในพื้นที่และขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ขณะเดียวกันการเข้า มาของแรงงานข้ามชาติ ได้สร้างผลกระทบทางด้านสังคม ต่อพื้นที่ตำบลเวียง อำเภอ เชียงแสน คือ ปัญหาความมั่นคง ยาเสพติด โรคติดต่อ รวมถึงทุนข้ามชาติ โดยเฉพาะ ทุนจีน ที่เข้ามาสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจของคนในพื้นที่ แต่ปัญหาเหล่านี้ สามารถบริหารจัดการได้ ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการรองรับและแผนการดำเนินการ และวางยุทธศาสตร์การจัดการชุมชนอย่างชัดเจน ในด้านต่างๆ อาทิ ยุทธศาสตร์ความ มั่นคงและการใช้แรงงานต่างด้าว ยุทธศาสตร์ด้านการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจ และ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการวางผังเมือง เพื่อรองรับการเติบโต ของเมืองและการดำเนินกิจกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษ

บทความที่ห้าเรื่อง “สมดุลชีวิตกับงานของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคการ บริการ” โดย นรินทร์ทิพย์ ประศรีรเตสัง และ ดุษฎี อายุวัฒน์ เป็นบทความวิจัยนี้กล่าว ถึง สมดุลชีวิตกับงานที่แรงงานควรแบ่งเวลาในการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงานอย่าง เหมาะสม อันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงาน และเป็นการรักษา ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร พบว่า แรงงานมีสมดุลชีวิตกับงานอยู่ในระดับปานกลางเป็น ส่วนใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่มีสมดุลชีวิตกับงานอยู่ในระดับสูง ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริม ให้แรงงานมีสมดุลชีวิตกับงานในระดับสูงมากขึ้น ขณะที่ความสมดุลชีวิตกับงานของ แรงงานในภาคอุตสาห-กรรมและภาคการบริการ พบทั้งแรงงานยอมให้ด้านงานแทรก แซงชีวิตส่วนตัว แต่ก็ยังได้รับการสนับสนุนทางสังคมและการช่วยเหลือที่ดีจากครอบครัว และสังคมทั้งในที่ทำงานและในชุมชน และแรงงานมีด้านชีวิตส่วนตัวแทรกแซงงาน จนบางครั้งก็ขาดโอกาสพัฒนาตนเองในการทำงาน รวมถึงสมดุลชีวิตกับงาน ด้านงานและชีวิตส่วนตัวส่งเสริมซึ่งกันและกันพบว่า ครอบครัวของแรงงานแบ่งหน้าที่ความรับ ผิดชอบในครอบครัวอย่างชัดเจน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

บทความที่หก เรื่อง “ประติมานวิทยาเฉพาะของปฏิมากรรมพระไภษัชยคุรุที่พบใน ประเทศไทย” โดย ธนุตย์ ธรรมพิทักษ์ เป็นบทความวิจัยรูปแบบและพุทธประติมาน ของพระไภษัชยคุรุฯ หรือพระพุทธเจ้าแพทย์ เป็นพระพุทธเจ้าในความเชื่อของพุทธ ศาสนาที่ปรากฏในบริเวณต่างๆ ของประเทศไทยในช่วงเวลาต่างๆ ที่แตกต่างกันบน ความเชื่ออำนาจพุทธคุณในด้านช่วยรักษาอาการป่วยต่างๆ ให้กับมนุษย์ จึงทำให้ ลักษณะทางประติมานวิทยาของปฎิมากรรมพระไภษัชยคุรุฯ แสดงถึงพุทธลักษณะที่สื่อ ความเป็นพระพุทธเจ้าแพทย์อยู่เสมอคือ การมีหม้อยาบนฝ่าพระหัตถ์

บทความที่เจ็ด เรื่อง ปริทัศน์หนังสือ “MY QUEST FOR THE YETI” เขียนโดย Reinhold Messner พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Pan Macmillan ประเทศออสเตรเลีย โดย ปฏิบัติ ปรียาวงศากุล และ ทวีพร คงแก้ว เป็นบทความปริทัศน์หนังสือที่น่าสนใจ ได้รับ การตีพิมพ์ทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งแรก ปี ค.ศ. 1998 และครั้งล่าสุด ค.ศ. 2013 โดยตีพิมพ์ เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน และภาษาสโลวาเนีย เรื่องราวของชีวิตจริงของเมสเนอ ร์ นักปีนเขาคนแรกที่สามารถเอาชนะ 14 ยอดเขาที่สูงเกิน 8,000 เมตรของโลกได้และ เรื่องราวการตามหาสัตว์ลึกลับที่เรียกว่า เยติ ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นในเนปาล และทิเบต ที่เชื่อมโยงกับความเชื่อที่เป็นสิ่งเลวร้าย มนต์ดำ หรือเปรียบเสมือนเทพและ เชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ เป็นต้น

บทความทั้งเจ็ดเรื่องนี้นำมาปรุงรสชาติอาหารสมองใหม่ที่หลากหลาย และทำให้เกิดอรรถรสของแต่ละเรื่องแต่ละบทความ ท่ามกลางความหลากหลายของผู้เขียน ความหลากหลายของผู้อ่านและความหลากหลายของการเสพอันจะนำไปสู่ความเท่าเทียมกันในการยอมรับความแตกต่างบนหน้ากระดาษของวารสาร

บรรณาธิการ
มิถุนายน 2562

Article Details

How to Cite
Social Sciences, W. J. of. (2019). Editorial Note. Asia Social Issues, 12(1), I. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/asi/article/view/200209
Section
Editorial Note