The life “In between” of The Orang Siam Below the Border (in Thai)

Main Article Content

Sironee Tohsan

Abstract

This paper describes the ways of life of various ethnic groups that migrated into the Malay Peninsula before the time of nation-states. It begins with the colonial period, when Siam and England were expand ing their territorial infl uence. This had effects on the existences of the various ethnic groups, especially through the de-/re-territorialization of boundaries by the colonialists. This process created great and complex changes on the Malay Peninsula. Since the attainment of independence from the European power, this area has been under the government of Malaysia. The administration of the Malaysian government has tended toward Islamization, and this has affected the various ethnic groups living in the country, to the point that the ethnic groups have to demonstrate their identities The Orang Siam, or Siamese in Malaysia, are one of the ethnic groups who have tried to show or create an identity as “people of the land” who have had a long-standing sense of belonging. Particularly, the group seem to project their identities as Thai people as a way of preserving their unity under the rule of the Malaysian nation state. In this process of creating identities as Thai, various kinds of cultural infl uences coming from Thailand are observed even though the Orang Siam live under the administration of the Malaysian nation-state. Consequently, it is as if this group balance themselves in between the two states, or were in a situation where we may call “A life in between.” Therefore, to understand the Orang Siam, it is not enough to consider how they live under the rule of the Malaysian state. It is also necessary to understand their lives as a people who had formerly lived under the rule of the Kingdom of Siam, which is now the Thai state. Only in this way can we understand their lives “in between” these two states on the boundary.

 

สภาวะของชีวิตที่อยู่ “ระหว่าง” ของกลุ่มคนสยามภายใต้เขตแดนรัฐชาติมาเลเซีย

บทความชิ้นนี้ต้องการอธิบายและชี้ให้เห็นการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานก่อนเกิดรัฐชาติในดินแดนแหลมมลายู โดยเริ่มจากยุคอาณานิคมที่มีอาณาจักรสยามและอังกฤษได้เข้าไป  มีอิทธิพลในพื้นที่พร้อมทั้งส่งผลต่อการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการสลายและลากเส้นแบ่งเขตแดน (Deter/Reterritorialization) ของเจ้าอาณานิคม ถือเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างความสลับซับซ้อนให้เกิดขึ้นในดินแดนแหลมมลายูมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งดินแดนดังกล่าวได้รับการประกาศเอกราชจากเจ้าอาณานิคมให้เป็นพื้นที่ภายใต้การปกครองของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน หากทว่าการปกครองของรัฐชาติมาเลเซียได้มุ่งเน้นการปกครองแนวคิดทางการเมืองแบบศาสนานิยมหรือภายใต้กระแสอิสลามานุวัตร (Islamization) กลับมีอิทธิพลต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยในประเทศ จนนำไปสู่การลุกขึ้นแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนสยาม (Orang Siam) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่พยายามแสดงอัตลักษณ์ในฐานะ “คนติดแผ่นดิน” หรือ แสดงความเป็นเจ้าของ (Sense of Belonging) ที่เคยอาศัยในดินแดนแห่งนี้ โดยเฉพาะการผลิตหรือสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อธำรงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้การปกครองของรัฐชาติมาเลเซีย ภายใต้กระบวนการของการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย พบว่า วัฒนธรรมต่างๆ ได้รับอิทธิพลจากประเทศไทย แม้กลุ่มคนสยามจะดำรงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐชาติมาเลเซียก็ตาม จนทำให้คนกลุ่มนี้เสมือนอยู่ในสภาวะของความก้ำกึ่งระหว่างรัฐ 2 รัฐ หรือนำไปสู่สิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า สภาวะของชีวิตที่อยู่ “ระหว่าง” ดังนั้น การจะทำความเข้าใจกลุ่มคนสยาม ไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงการดำเนินวิถีชีวิตภายใต้การปกครองของรัฐชาติมาเลเซียว่าเป็นอย่างไร แต่จะต้องทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของกลุ่มคนสยามที่เคยเป็นชนกลุ่มหนึ่งภายใต้การปกครองของอาณาจักรของสยามหรือรัฐไทยในปัจจุบันด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้เข้าใจว่าสภาวะของชีวิตที่อยู่ “ระหว่าง” ของกลุ่มคนสยามภายใต้เขตแดนรัฐชาติมาเลเซียเป็นอย่างไร 

Article Details

How to Cite
Tohsan, S. (2017). The life “In between” of The Orang Siam Below the Border (in Thai). Asia Social Issues, 10(1), 55–87. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/asi/article/view/94162
Section
Research Article