Inequality Pathway of Rawai Sea Gypsies in Phuket Province (in Thai)

Main Article Content

Sirinon Suwanmolee

Abstract

The purpose of this article is to investigate the inequality of Rawai sea gypsies in Phuket Province. I expect to induce the people concern about the inequality of marginal people, which will lead to. Understanding of marginalization, knowledge as well as the tool to reduce the inequality, and bring in appropriate solutions for fairness. The Rawai sea gypsies’s community is apparently a food - gathering society with a belief in cultural ecology. Their ways of life rely on fi sheries along Andaman coastal areas on the basis of “No sea for food, No land to live”. As the sea and the islands have now been established as a marine protected area by the natural conservation’s law, their conventional ways of life are challenged due to the food insecurity problem. Despite the loose settlement of their ancestors, the sea gypsies are struggling for housing and land ownership. The root of these problems are caused by cultural and spatial inequalities since the sea gypsies are sea wandderers. They gather their food for a living on a daily basis and do not necessarily want to settle down permanently in the form of township. This ideology causes three aspects of inequality, namely social inequality, political inequality and knowledge inequality, which have induced constant inequality economic and resource consumption.  The natural conservation zoning deprive sea gypsies out of the arable land and resources. Moreover their Ancestors area are deprived by capital accumulating of the incoming investors. The sea gypsies who didn’t have negotiating skills and bargaining power are pushed to become a loser of the competitive word of liberalism marketing society. Since the sea gypsies likelihood of food-gathering society does not exist on competitions mechanism, the ownership possession and the asset accumulation are not their way of life. Thus, the capitalism is not their determining rules. At the same time, globalization movement has also increased the economic inequality. As a result, these disadvantages have driven the sea gypsies to unavoidably surrender to capitalism. Thus, the key message to protect sea gypsies is “the means to inhibit violence”, which may be caused by the confl ict. The confl ict should be controlled it escalates to violence. Such structural confl icts must be averted by adjusting the structural equality such as establishing culture permitted area. This special area might be allocated as a resource for sea gypsies according to their way of life. The resource allocation equality exists on permitted area of sub-culture rule who want to live without exploitation, and who want to coexist with the modernizations and the information technology of the globalization.

 

เส้นทางความเหลื่อมล้ำของชาวเลชุมชนหาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต

เป้าหมายของงานเขียนชิ้นนี้ สนใจที่จะวิเคราะห์สภาพความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นกับชุมชนชาวเลหาดราไวย์ เพื่อชวนให้สังคมมองประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำ/ไม่เป็นธรรมแล้วร่วมกันสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาและการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ผ่านการนำเสนอความรู้และเครื่องมือในการนำไปสู่ความเป็นธรรมจากโครงสร้างปัญหาของกรณีศึกษาของชุมชนชาวเลหาดราไวย์ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าในแถบชายฝั่งอันดามันที่มีรูปแบบสังคมตามแนวคิดนิเวศวิทยาวัฒนธรรม เป็นแบบหาอยู่หากิน ชาวเลชุมชนนี้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนว่าเคยอยู่อาศัยบนผืนดินแห่งนี้มาแล้วกว่า 7 รุ่น แต่กรรมสิทธิ์ที่ดินในการอยู่อาศัย ทำมาหากินและประกอบพิธีกรรมกลับถูกอ้างสิทธิ์ด้วยเอกสารการครอบครองที่ดินจากคู่ตรงข้ามที่เป็นเอกชน เช่นเดียวกับชาวเลชุมชนอื่น ๆ ที่กำลังใช้ชีวิตกันอยู่ภายใต้ความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและการทำมาหากิน เนื่องจากความไม่เป็นธรรมที่มีรากเหง้ามาจากความเหลื่อมล้ำสองประการแรก คือ ความเหลื่อมล้ำทางวัฒนธรรมและความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ การอพยพโยกย้าย การอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีความห่างไกลจาการพัฒนามากกว่า ความเหลื่อมล้ำ 3 ประการที่ตามมาจึงเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเมืองและความรู้ ซึ่งสุดท้ายนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม จากการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ซึ่งสร้างพื้นที่ทับซ้อน กีดกันการเข้าถึงทรัพยากร พร้อมกับกระแสเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่เน้นการแข่งกันและสะสมทุน ยิ่งกีดกันชาวเลไม่มีอำนาจและทักษะในการต่อรอง ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการแย่งชิงที่ดินและการขายผลิตผลสู่ตลาด เพราะชาวเลยืนยันว่าวิถีชีวิตของพวกเขาไม่ใช่ระบบของการแข่งขัน วิถีของเขาคือ การหากินหาอยู่ ไม่สะสม ไม่มีครอบครองและไม่อ้างกรรมสิทธิ์ โลกาภิวัตน์ที่สร้างเป็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจึงกดดันให้พวกเขาต้องจำยอมต่อระบบที่ตัวเองไม่สามารถกำหนดกติกา การยับยั้งไม่ให้สังคมไปถึงจุดที่เกิดความรุนแรง จึงต้องวิเคราะห์ปัจจัยของความขัดแย้งที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงได้  เนื่องจากความขัดแย้ง (Conflict) เป็นสิ่งที่จะนำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลง การยับยั้งความขัดแย้งเชิงโครงสร้างจึงต้องแก้ไขโครงสร้างโดยสร้างพื้นที่ของความเท่าเทียมคือ “เขตคุ้มครองวัฒนธรรม” ให้เกิดพื้นที่ของการจัดสรรผลประโยชน์โดยไม่เกิดการเสียเปรียบ เป็นพื้นที่ของการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม เป็นพื้นที่ดำรงอยู่ของวัฒนธรรมย่อย ที่อยู่ร่วมกับความทันสมัยและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์

Article Details

How to Cite
Suwanmolee, S. (2017). Inequality Pathway of Rawai Sea Gypsies in Phuket Province (in Thai). Asia Social Issues, 10(1), 89–135. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/asi/article/view/94164
Section
Research Article