The Student Improvement of Knowledge, Skills and Attitude through Active Learning Approaches (in Thai)
Main Article Content
Abstract
This paper aims to present the results of student development on Knowledge, Skills, and Attitude through active learning approaches in GEN 351: Modern Management and Leadership, the compulsory course in General Education in semester 1/2558, Rubrics Self-assessment are used as a tool to compare levels of Knowledge, Skills, and Attitude before and after studying. The results show that level of knowledge increased from level 2 ( = 2.60) to level 4 ( = 4.80), level of skills from level 2 ( = 2.40) to level 4 ( = 4.80), and level of attitude from level 2 ( = 2.36) to level 3 ( = 3.60).
Moreover, the results reveal that after the class ended the students 86.6 percent gained higher knowledge in 3 dimensions: Determination of Life Goal, Good Leadership, and Human Resource Management and Organization. Approximately 73 percent of students have developed all 6 skills: Determination of Life Goal, Communication, Decision Making, Teamwork (Leader and Follower), Strategic Planning, and Project Management. Lastly, 70 percent of students have developed 2 attitude dimensions: Emotional Quotient and Passion.
การพัฒนาด้านความรู้ ด้านทักษะและ ด้านทัศนคติผ่านการเรียนการสอนเชิงรุก
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การพัฒนาด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านทัศนคติ (Attitude) ผ่านการ เรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) ของ นักศึกษาในรายวิชา GEN 351 การบริหาร จัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ ภาคการศึกษาที่ 1/2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.) โดยใช้แบบประเมินตนเองตาม Rubrics เป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบระดับ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ของนักศึกษาก่อน และหลังเรียนวิชาดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนมีระดับความรู้ ทักษะ และทัศนคติเพิ่มขึ้น หลังจากเรียนในรายวิชา GEN 351 โดยก่อน เรียนผู้เรียนมีระดับความรู้ อยู่ในระดับที่ 2 ( = 2.60) ส่วนหลังเรียนมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ ในระดับที่ 4 ( = 4.80) ส่วนด้านทักษะ ก่อนเรียนมีทักษะอยู่ในระดับ ที่ 2 ( = 2.40) ส่วนหลังเรียนมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่ 4 ( = 4.80) และด้านทัศนคติ ก่อนเรียนมีทัศนคติอยู่ในระดับที่ 2 ( = 2.36) ส่วนหลังเรียนมีระดับทัศนติเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่ 3 ( = 3.60)
นอกจากนี้ผลการศึกษาด้านความรู้ พบว่าหลังเรียนผู้เรียน ร้อยละ 86.6 ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่รายวิชากำหนดไว้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยว กับการกำหนดเป้าหมายในชีวิต คุณลักษณะผู้นำที่ดี และการบริหาร คนและองค์กร ด้านทักษะ (Skills) พบว่าหลังเรียนผู้เรียนร้อยละ 73.0 เกิดพัฒนาด้านทักษะครบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายใน ชีวิต การสื่อสาร การตัดสินใจของผู้นำ การทำงานเป็นทีม (การนำและ การตาม) การวางแผนกลยุทธ์ และการบริหารโครงการ ส่วนด้าน ทัศนคติ พบว่าหลังเรียนผู้เรียนร้อยละ 70 เกิดการพัฒนาด้านทัศนคติ ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความฉลาดทางอารมณ์ และความกระตือรือร้น
Article Details
Copyright: CC BY-NC-ND 4.0