The Music Accompaniment of the Li-ke Pa, Ruammitr Praditsilpa Troupe, Phunphin District, Surat Thani Province (in Thai)

Main Article Content

Trustee Korsakul

Abstract

This research focus on the social value of the Li-ke Pa, Ruammitr Praditsilpa troupe. Analyze relationships, roles and functions of music and composition, showing that a major factor in balancing the society. Study used data from fieldwork in Village 3, Tambon Nong Sai, Phunphin Distrinct, Surat Thani Province in January 2552 - May 2556.  

This study aims 1) to study characters of musics to be used in Ruammitr Praditsilpa Troupe, 2) to study role and function of “Li-ke Pa” folk plays of the Ruammitr Praditsilpa Troupe and study the components, the  performing tradition and the inheritance of “Li-ke Pa”  folk plays of the Ruammitr Praditsilpa Troupe. This research is approached with qualitative ethnomusicology by field notes, interview and ethnography methodologies. 

The results of the research found that 1)  The “Li-ke Pa” songs of Ruammitr Praditsilpa Troupe consist of lyrics and music, lyrics come from preparatory and improvise. Rhymed thai verse composed of external rhymed, internal rhymed and repetition for stressful meaning. Tuning system of songs is seven equidistance. Melodic contour include among terracing, ascending, descending, leap, undulating. Musical texture is idiomatic heterophony. Musical form is A-B strophic form. The Rebana’s sound as an important signal tells the beginning and end, and supports the mood of the show. The Mohng’s sound set the pitch of the singer and Ching is rhythm accompaniment and Ranad are melodic support.  

2) The role and function of “Li-ke Pa” of Ruammitr Praditsilpa Troupe is concerned vary in five different   functions including; as the actor role for entertain and  relax from work, as the shaman role for perform a ritual and worship a spirit, as the reporter role of communicating and announcing, as the cultural representative role to build up unity, as the local artists role to shows on a culture folklore conservation basis. Components of the Ruammitr Praditsilpa’s performance consist of a Li-ke Pa Troupe, stories in the plays, Players and costumes, musical instrument, songs, Li-ke Pa stage and performing venue, performing opportunities and audiences.

Academic advantage of this research is to know the music used in the Li-ke Pa. Know the roles and function towards society and know the composition of Li-ke pa.  Know the roles and function towards the society and know the composition of LI-KE PA to apply the studies issues in depth. Practical advantage of this research is to apply the practice Li-ke pa and songs that have been collected in this research can be played based on music score. 

  

ดนตรีประกอบการแสดงลิเกป่าคณะรวมมิตรประดิษฐ์ศิลป์  อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณค่าของการแสดงลิเกป่าคณะรวมมิตร ประดิษฐ์ศิลป์ที่มีต่อสังคม วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงบทบาทหน้าที่ของ ดนตรี และองค์ประกอบการแสดง ว่าเป็นปัจจัย สำคัญที่สร้างความสมดุลให้สังคม  ข้อมูลที่ใช้ ศึกษามาจากการเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ หมู่ 3 ตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน  จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงมกราคม 2552 - พฤษภาคม 2556

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ดนตรีประกอบการแสดงลิเก ป่าคณะรวมมิตร ประดิษฐ์ศิลป์ 2) ศึกษาบทบาท หน้าที่ทางสังคม ศึกษาองค์ประกอบ  ลำดับ ขั้นตอนในการแสดง และการอนุรักษ์สืบทอดการแสดงลิเกป่าของคณะรวมมิตรประดิษฐ์ศิลป์ เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงมานุษยดุริยางควิทยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเฉพาะกรณีเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยคือ แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต และรายงานผลโดยใช้หลักชาติพันธ์วรรณลักษณ์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงลิเกป่าของ ทางคณะประกอบด้วยเนื้อร้องและดนตรีประกอบ  เนื้อร้องมีทั้ง บทกลอนจำและการด้นกลอนสด  ซึ่งประกอบด้วยกลอนหกและกลอน แปด มีท่วงทำนอง (melodic contour) หลากหลาย ทั้งท่วงทำนองที่ ไม่ค่อยขึ้นลงหรือสม่ำเสมอ  ท่วงทำนองที่สูงขึ้นเรื่อยๆ  ท่วงทำนองที่ ต่ำาลงเรื่อยๆ ท่วงทำนองที่สูงขึ้นในทันที หรือท่วงทำนองที่มีการกระโดด และท่วงทำนองที่ขึ้น ๆ ลง ๆ  พื้นผิวเป็นทำนองหลากหลายอย่างไทย (idiomatic  heterophony)  รูปแบบเป็นประเภทร้อยเนื้อทำนองเดียว (strophic form) ที่มีลักษณะ A - B สลับกันอย่างต่อเนื่อง การแสดง มีรำมะนาเป็นสัญญาณสำคัญนำการบรรเลงดนตรีทั้งหมดและช่วยใน การแสดงอารมณ์ของผู้แสดง โหม่งคู่คอยคุมระดับเสียง และฉิ่งคอยคุม จังหวะ และระนาดเอกคอยขยายทำนองหลัก 2) บทบาทหน้าที่ของทาง คณะลิเกป่าต่อสังคมพบการมีบทบาทนักแสดงที่มีหน้าที่ในการให้ความรื่นเริง  บทบาทพ่อครูมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมความเชื่อ  บทบาท ผู้กระจายข่าวสารมีหน้าที่ในการสื่อสารส่งข่าว  บทบาทตัวแทนทาง วัฒนธรรมที่สังคมร่วมกันอนุรักษ์จึงมีหน้าที่ในการเสริมสร้างความ สามัคคีในหมู่คณะ  บทบาทศิลปินท้องถิ่นมีหน้าที่ในการอนุรักษ์และ สืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่  การแสดงลิเกป่ามีองค์ประกอบของการ แสดง ได้แก่ คณะลิเกป่า เนื้อเรื่อง ตัวแสดงและการแต่งกาย เครื่อง ดนตรี  บทเพลง  โรงลิเกป่าและสถานที่แสดง  โอกาสในการแสดง และผู้ชม สำหรับลำดับขั้นตอนในการแสดงเป็นขั้นตอนที่ตายตัว ได้แก่ การเบิกโรง การลงโรง การกาดครู การเรียกแขก ออกแขกแดง

Article Details

How to Cite
Korsakul, T. (2014). The Music Accompaniment of the Li-ke Pa, Ruammitr Praditsilpa Troupe, Phunphin District, Surat Thani Province (in Thai). Asia Social Issues, 7(1), 425–469. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/asi/article/view/94690
Section
Research Article