The Use of Social Capital for Creating and Extending of “Ya Klai” Market: A Study of Growers and Consumers Networks “Tasala- Pattani” (in Thai)

Main Article Content

Siriporn Rordkliang

Abstract

This thesis has two objectives; (1) to study the construction of social capital in Ya Klai (a kind of local tobacco) market; and (2) to study the use of social capital in construction and expansion of Ya Klai market. Concept of social capital developed by Robert D. Putnam was used in this study. Social capital used in this study means trust, sanction, and networks.

The research was conducted during 2010 – 2013. Klai community, located at Klai Sub-district, Thasala District, Nakhon-Si-Thammarat Province, and Palus
community, Langa Sub-district, Mayo District, Pattani Province were used as sites of this study. Ethnographic methods were used in this study. Data for this research was collected by using the followings; secondary data reviews, in-dept interviews, observations, and participant observations. The data collected was analyzed by using the concept of social capital.

The research findings are followings: Klai tobaccos were planted by Klai tobacco growers a long time ago. The Klai tobacco were produced for market since the beginning. During 1947 – 1987 Klai tobaccos was produced by using traditional technologies and local tobacco variety. Human (household) and animal (buffalo) labor were used in that productions. However, since 1988 Klai tobaccos were produced by using new technologies and variety. Chemical fertilizers were used in Klai tobacco production. And Klai tobacco productions now are rely on hire laborers; Klai tobaccos are consumed by local consumers (consumers in Klai community) and distance consumers in Pattani, Yala, and Narathiwat. Klai tobaccos had been usually consumed by rolling with Jak (Nypa fruticans Wurmb) leaves. This was found in the case of local and distance consumers mentioned above; Klai tobacco market is different from general market. That is, Klai tobacco market is not based on market mechanism, but based on trust or social capital since its beginning. This study found that from 1947 to 2012 social capital had been used in Klai tobacco market. But places and functions of social capital used were changed. Namely, during 1947 – 1988, Klai tobacco market was dominated by retail-wholesale tobacco traders, and social capital was used to construct the linkage between Klai tobacco producers in Klai community with small Klai tobacco traders, and between small Klai tobacco traders and retail-wholesale tobacco traders, located at Yala and Nakhon-Si-Thammarat provinces. And there were no social capital linked between tobacco consumers and retail-wholesale tobacco traders, or between small tobacco traders and consumers. Trust-based tobacco market had been constructed since 1989. Social capital had been used between Kail tobacco producers and small tobacco traders of Klai community, and between small tobacco traders of Klai community and tobacco consumers in Pattani (including in Yala and Narathiwat provinces). In other words, during 1989 – 1997 networks between Klai tobacco producers and consumers in Pattani were constructed. These networks were constructed and maintained by small tobacco traders of Klai community. And significantly these networks based on trust or social capital. During 1998 – 2012, social capital has been used for expanding of Klai tobacco market. The local small tobacco traders in Pattani, as well as, Yala and Narathiwat were emerged. These traders were mostly former tobacco consumers who trust in and being trusted by small tobacco traders of Klai community, who conducted Klai tobacco trading in Pattani, and then turned themselves became small tobacco traders in Pattani, as well as in Yala and Narathiwat. The expanded networks also based on social capital. In sum, Klai tobacco market bases on social capital. This social capital is reciprocal one that have to be conducted by thoseparty involved. 

 

การใช้ทุนทางสังคมเพื่อสร้างและขยายตลาดยากลาย: ศึกษาเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภคยากลาย “ท่าศาลา-ปัตตานี”

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างทุนทางสังคมในตลาดยากลาย และการใช้ทุนทางสังคมเพื่อสร้างและขยาย ตลาดยากลาย แนวคิดทุนทางสังคมหรือ social capital ที่พัฒนาโดยโรเบิร์ต ดี. พัท นัม ถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยทุนทางสังคมในงาน ศึกษานี้หมายถึงความไว้วางใจ มาตรการการลง โทษ และเครือข่ายวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ดำเนินการ ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2555 ชุมชนกลาย ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และชุมชนปาลัส ตำบลลางา อำเภอมายอ   จังหวัดปัตตานี ถูกเลือกเป็นพื้นที่ในการศึกษา การศึกษาใช้วิธีการแบบชาติพันธุ์ วรรณาใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล หลากหลายวิธี เช่น การศึกษา เอกสารชั้นสอง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตุและการสังเกต แบบมีส่วนร่วม ข้อมูลที่รวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยอาศัยแนวคิด ว่าด้วยทุนทางสังคม ที่เป็นแนวคิดหลักในการศึกษา

ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ การปลูกยากลายในชุมชนกลายมีมาเป็นระยะเวลายาวนาน การปลูกยากลายในชุมชนกลายมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้ามาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการผลิตยากลาย ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2490 – 2530 การผลิตยากลายผลิต โดยเทคโนโลยีดั้งเดิมของชุมชนและผลิตโดยใช้พันธุ์ดั้งเดิมของชุมชน และมีการใช้แรงงานมนุษย์ (แรงงานในครอบครัว) และแรงงาน สัตว์ (ควาย) เป็นหลักในการผลิต อย่างไรก็ตามหลังปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา การผลิตยากลายอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่และพันธุ์ใหม่ อาศัยแรงงานรับจ้างมากขึ้น และมีการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตยากลาย ที่ผลิตถูกบริโภคโดยคนในชุมชนกลายและในพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป เช่น ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส การบริโภคยากลายโดย ปกติจะบริโภคโดยการมวนด้วยใบจาก ซึ่งพบทั้งในกรณีผู้บริโภคใน ชุมชนกลายและในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตลาดยากลาย มีความแตกต่างไปจากตลาดทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ ตลาดยากลายมิได้อิงอยู่กับกลไกการตลาดล้วน ๆ หากแต่อาศัยและดำารงอยู่ได้ด้วยทุน ทางสังคมมาตั้งแต่ต้น การศึกษาพบว่าทุนทางสังคมถูกใช้ในตลาด ยากลายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 - 2555 แต่ใช้ตรงไหนและหน้าที่ของ ทุนทางสังคมถูกใช้แตกต่างกันไปตามช่วงเวลา กล่าวคือในช่วงปี พ.ศ. 2490 – 2530 ตลาดยากลายถูกครอบโดยร้านรับซื้อหรือร้านขายปลีก-ส่งยากลาย และทุนทางสังคมถูกใช้เพื่อเชื่อมระหว่างผู้ผลิตยากลายในชุมชนกลายกับพ่อค้ายากลายรายย่อย และระหว่างพ่อค้า ยากลายรายย่อยกับร้านขายปลีก-ส่งยากลายในจังหวัดยะลาและนครศรีธรรมราช ทุนทางสังคมยังไม่ได้ถูกใช้เพื่อเชื่อมระหว่างผู้บริโภคยากลาย กับร้านขายปลีก-ส่งยากลาย หรือระหว่างพ่อค้ายากลายรายย่อยกับผู้บริโภคยากลาย ตลาดยากลายที่อิงอยู่บนฐานไว้วางใจถูกสร้างหลังปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ทุนทางสังคมถูกสร้างและใช้ระหว่างผู้ผลิตยากลายแห่งชุมชนกลายกับพ่อค้ายากลายรายย่อยแห่งชุมชนกลาย และระหว่างพ่อค้ายากลายรายย่อยแห่งชุมชนกลายกับผู้บริโภคยากลาย ในปัตตานี (รวมถึงผู้บริโภคยากลายในยะลาและนราธิวาส) กล่าวอีกนัย ในช่วงปี พ.ศ. 2531 – 2540 เครือข่ายผู้ผลิตยากลายแห่งชุมชนกลาย กับผู้บริโภคยากลายในปัตตานีได้ถูกสร้างขึ้น เครือข่ายดังกล่าวถูกสร้าง และรักษาโดยพ่อค้ายากลายรายย่อยแห่งชุมชนกลาย  และที่สำคัญอย่างยิ่งเครือข่ายดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจากฐานของความไว้วางใจหรือ ทุนทางสังคม ในช่วงปี พ.ศ. 2541 – 2555 ทุนทางสังคมถูกใช้เพื่อขยายตลาดยากลาย โดยในช่วงนี้พ่อค้ายากลายรายย่อยในปัตตานีรวมถึง ยะลาและนราธิวาสได้ปรากฏตัวขึ้น พ่อค้ารายย่อยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็น ลูกค้าผู้ไว้วางใจและได้รับการไว้วางใจจากพ่อค้ายากลายรายย่อยแห่งชุมชนกลาย ผู้ซึ่งไปทำการค้ายากลายในปัตตานีผันตัวเองมาเป็นพ่อค้ายากลายรายย่อยในปัตตานีรวมถึงยะลาและนราธิวาส เครือข่ายตลาด ยากลายที่ขยายออกนี้อิงอยู่กับทุนทางสังคมเช่นเดียวกัน กล่าวโดยสรุป ตลาดยากลายอิงอยู่กับทุนทางสังคม ทุนทางสังคมดังกล่าวเป็นทุนทาง สังคมที่จะต้องกระทำาหรือรักษาทั้งสองฝ่าย หรือโดยภาคีที่เกี่ยวข้อง

Article Details

How to Cite
Rordkliang, S. (2013). The Use of Social Capital for Creating and Extending of “Ya Klai” Market: A Study of Growers and Consumers Networks “Tasala- Pattani” (in Thai). Asia Social Issues, 6(1), 367–415. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/asi/article/view/95151
Section
Research Article