การตีความสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา: ว่าด้วยบัวสัญญะ Logo สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ

ผู้แต่ง

  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประสิทธิ์ พุทธศาสน์ศรัทธา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การตีความสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา, บัว, การจัดการเชิงพุทธ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความเกี่ยวกับสัญลักษณ์บัวที่เป็น Logo ของสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ใช้การศึกษาเอกสาร งานวิจัย  การสัมภาษณ์ และเขียนเป็นความเรียงในรูปแบบบทความวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า บัวมีคติที่เนื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานับแต่อดีตตั้งแต่การเกิดของศาสดาผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา คำสอน หรือการบูชาด้วยบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เมื่อตีความเฉพาะสัญลักษณ์ของสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ จะอธิบายความได้ว่าบัว จำนวน 9 กลีบดอก ให้ความหมายว่า 3 กลีบดอกแรก ด้านหน้า หมายถึง พระรัตนตรัย (พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์) ซึ่งเป็นความเชื่อสูงสุดของชาวพุทธ และ 3 ไตรสิกขา (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) หลักการพัฒนาตนเองของชาวพุทธ  6 กลีบดอกด้านหลัง หมายถึงงานคณะสงฆ์ 6 ด้าน ซึ่งสัมพันธ์กับทิศ 6 ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เรียนสาขานี้จะต้องรับผิดชอบต่อสังคมส่วนร่วมผ่านงาน 6 ด้าน รวมกันเป็น 9 กลีบดอก หมายถึง คุณของพระสงฆ์ 9 และพุทธคุณ 9 ที่จะเป็นแบบอย่าง ต้นแบบให้ปฏิบัติของพระพุทธเจ้า และสังฆเจ้า พร้อมเผยแผ่ส่งต่อแบบอย่างที่ดีนี้  แก่ชุมชน สังคม ทำประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวม ผ่านการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (change) อย่างชาญฉลาดด้วยความเข้าใจและรู้จริง ประกอบด้วยอุดมคติหรือจิตวิญญาณของการเป็นนักบวช “สมณสัญญา” (Idealist) พร้อมคิดสร้างนวัตกรรมทางความคิด การปฏิบัติ และการส่งเสริมสร้างนวัตกรรมในพระพุทธศาสนาพร้อมเท่าทันเทคโนโลยี (Innovation) เปลี่ยนแปลงไปสู่การมีอิสระทางจิตวิญญาณ ไปสู่เป้าหมายอันเป็นอุดมคติในทางพระพุทธศาสนา 

References

ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (2005). วัชระกลางดอกบัวแปดกลีบ. ศิลปากร, 48(5), 103-105.

เฉลิมชัย สุวรรณวัฒนา. (2553). สีในวัฒนธรรมคติความเชื่อของคนไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาญคณิต อาวรมณ์. (2009). เจดีย์วัดล่ามช้างร้างในวัดพระแก้วดอนเต้าฯ นครลำปาง: ข้อสันนิษฐานรูปแบบเจดีย์ยอด ทรงดอกบัวตูม. ศิลปากร, 52(5), 48-57.

ชำนาญ เกิดช่อ. (2559). บัว 4 เหล่า หรือ บัว 3 เหล่า. วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้น 12 ธันวาคม 2560, จาก http://pbs.mcu.ac.th/ D-327-332.pdf

ติ๊ก แสนบุญ. (2012). พระธาตุดอกบัวตูม รสนิยมแห่งศิลปะสายราชสำนักจำปาสัก. ศิลปวัฒนธรรม, 33(8), 32-35.
ที.ทาตากะ. (2009). เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม วัดโตนดหลาย อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท: การเกี่ยวข้องกับศิลปะสุโขทัย และศิลปะอยุธยา. กระแสวัฒนธรรม, 10(17), 13-23.

ธนเดช ทิวไผ่งาม. (2015). การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของผู้หญิงในงานเขียนของซูถงและอันหนีเป่าเป้ย จากเรื่อง เมียหลวงเมียน้อย และดอกบัว. วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(2), 81-93.

นงนุช ภู่มาลี. (2011). ฐานบัวลูกแก้วอกไก่ของปราสาทในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 114-140.

ปวีณา บุหร่า. (2018). เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม วัดเจดีย์ยอดทอง จ.พิษณุโลก: หลักฐานทางศิลปกรรมในยุคสุโขทัย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,14(1), 141-162.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2012). สยามวิบัติเพราะเห็นอเมริกันเป็นดอกบัว. วารสารเมืองโบราณ, 38(2), 7-10.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2004). เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูมกับเจดีย์วัดพระคลัง : ความแตกต่างทางด้านรูปแบบและยุคสมัย. วารสารดำรงวิชาการ, 2(4), 112-119.

________. (2004). เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูมกับเจดีย์บริวาร : แผนผังและวิวัฒนาการ. วารสารเมืองโบราณ, 30(4), 88-99.

________. (2005). “ฐาน "บัววลัย" ในวัฒนธรรมทวารวดี : ที่มา ความหมาย และความสัมพันธ์ ทางด้านรูปแบบจากอินเดียสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”. วารสารดำรงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(2), 28-44.

สมชาติ อนุกูล. (2560). วัฒนธรรมการใช้สีในสังคมไทย. สืบค้น 12 ธันวาคม 2560, จาก http://human.tru.ac.th/human_culture/download/c0010.pdf

สรณีย์ สายศร. (2560). ดอกบัวในเปลวเพลิง : แนวทางการสร้างสันติภาพท่ามกลางเปลวสงคราม ของ ติชนัทฮันห์ภิกษุเซนแห่งเวียดนาม. วารสารมนุษยศาสตร์, 24(1), 80-111.

อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2009). ดอกบัว จากโคลนตมสู่ความนิยมบูชา. วารสารรูสมิแล, 30(2), 24-28.
Ciotti. (2017). The Psychology of Color in Marketing and Branding. Retrieved March 20, 2017, from https://www.helpscout.com/blog/psychology-of-color/Color meanings and the art of using color symbolism

Deborah Ruscillo. (2007). Color in the Ancient Mediterranean World by Liza Cleland; Karen Stears; Glenys Davies Review. American Journal of Archaeology, 111(2), 371-373.

Lundberg. (2017).Color meanings and the art of using color symbolism. Retrieved March 20, 2017, from https://99designs.com/blog/tips/color-meanings/
Shutterstock. (2015). Symbolism Of Colors And Color Meanings Around The World. Retrieved March 20, 2017, from https://www.shutterstock.com/blog/color-symbolism-and-meanings-around-the-world

Western Oregon University. (2015). Color Symbolism in Hinduism. Retrieved March 20, 2017, from From https://wou.edu/wp/exhibits/files/2015/07/hinduism.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-28