การศาสนศึกษาของพระสงฆ์: การปรับตัวในยุคปกติวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • พระเมธีวราภรณ์ (เชิดชัย อุดมสิทธิโชติ) วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พระมหาบรรณ์ ปญฺญาธโร วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การศาสนศึกษาของพระสงฆ์, การศาสนศึกษาของพระสงฆ์, การปรับตัว, ปกติวิถีใหม่, ปกติวิถีใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษา การศาสนศึกษาของคณะสงฆ์ไทยและการสาธารณสงเคราะห์จากการศาสนศึกษา รวมถึงการปรับตัวในยุคปกติวิถีใหม่ ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของการศึกษาพระพุทธศาสนามี 3 ประการ คือ (1) ปริยัติ ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย (2) ปฏิบัติ ได้แก่ การน้อมนำเอาหลักธรรมคำสอนมาสู่ภาคปฏิบัติ (3) ปฏิเวธ ได้แก่ ผลของการปฏิบัติธรรมนั้น ในการสาธารณสงเคราะห์ของสงฆ์เกิดจากการศึกษาประกอบด้วย 1) ประโยชน์ตน คือ ประโยชน์ที่ที่เกิดกับตน เช่น ถ้าเป็นสังคมโลก คือ การเอาตัวรอดในสังคม ไม่เป็นภาระสังคม 2) ประโยชน์ผู้อื่น คือ พระสงฆ์ได้ทำอย่างเต็มที่เพราะเมื่อท่านศึกษาพระปริยัติธรรมมาแล้วรู้ว่าสิ่งที่เป็นแนวทางที่จะทำให้โลกมีความผาสุกร่มเย็นท่านก็บำเพ็ญประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นการดูแลพ่อแม่บำรุงญาติและให้การสาธารณะสงเคราะห์แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเป็นเตียงสนามให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในวัด ไม่ว่าจะเป็นการแจกของกินของใช้ที่จำเป็นแก่ประชาชน หรือ การรับเผาศพภายในวัด ล้วนมาจากคำสอนทางพระพุทธศาสนา 3) ประโยชน์สูงสุด คือ มรรคผลนิพพาน ส่วนการศาสนศึกษา สำนักเรียนบาลีและมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้นมีเรียนออนไลน์ เพราะมีพื้นฐานของการใช้สื่ออยู่แล้ว ทำให้เกิด “การประหยัด และมีประโยชน์สูงสุด”

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (บาลี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ไทย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal). สืบค้น 23 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/new-normal

นิรมล สุวรรณโคตร. (2556). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2), 1-10.

พระเทพวิสุทธิกวี. (2543). การพัฒนาจิตภาคที่หนึ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). หัวใจพระพุทธศาสนา. พุทธจักร, 61(5), 1-7.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). การศึกษาสมบูรณ์แบบ คือวงกลมที่คุ้มครองโลกถึงที่สุด. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2553). จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2545). ความหมายของการปรับตัว จิตวิทยาการปรับตัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุรชัย โชคครรชิตไชย. (2563). การระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในประเทศไทย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกัน แห่งประเทศไทย, 10(1), ฎ.

อินถา ศิริวรรณและนิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2560). การศึกษาแนวทางพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2), 10-23.

Barnes, S. J. (2020). Information management research and practice in the post-COVID19 world. International Journal of Information Management, 55, 1-4.

Kitiyadisai, K. (2013). Freedom of the monk. Training Report on the Law of Democracy: The Office of the Constitutional Court.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23