การพัฒนาการจัดการศึกษาธรรมศึกษาของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การจัดการ, ธรรมศึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการพัฒนาการจัดการ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาการจัดการศึกษาธรรมศึกษาของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พบว่า สภาพการพัฒนาการจัดการศึกษาธรรมศึกษาของคณะสงฆ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหาและอุปสรรค คือครูที่เป็นพระภิกษุสามเณรสอนธรรมศึกษายังมีจำนวนน้อย ที่สอนอยู่ก็สอนหลายวิชา ขาดการสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมในการสอน วิชาที่เกี่ยวกับธรรมะขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะและวิธีการสอนที่ทันสมัย ใช้วิธีการสอนแบบไม่ทันสมัย ไม่มีเทคนิคใหม่ ๆ ทำให้ขาดความน่าสนใจในการเรียน ดังนั้นได้แก่ เพิ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมให้มากขึ้น แยกสอนตามรายวิชาไปสรรหาครูที่ทำหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น โดยทดสอบวัดความรู้ และทดลองปฏิบัติหน้าที่การสอนจริง ส่งครูที่ทำหน้าที่สอนให้ได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะ วิธีการสอน ให้ได้รับการอบรมเรียนรู้รูปแบบวิธีการสอนที่ทันสมัย
References
พระมหาสุรชาติ สิริเตโช. (2555). ศึกษาความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนธรรมศึกษาของนักเรียนในเขตตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิไลพร เสาวภา. (2552). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องพุทธศาสนสุภาษิต หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดเพชรบุรี. (2562). ทะเบียนโรงเรียนที่เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย. เพชรบุรี: โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์.