แม่สอดศึกษา: หลากชาติพันธุ์สู่พหุลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
แม่สอดศึกษา, หลากชาติพันธุ์, พหุลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาความหลากชาติพันธุ์สู่พหุลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในแม่สอด อันเป็นพื้นที่ชายแดนไทยพม่าและเป็นยุทธศาสตร์ในเชิงเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินการขับเคลื่อนในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่จริงและนำเสนอเป็นความเรียงในรูปแบบบทความวิชาการ
ผลการศึกษาพบว่าแม่สอดเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์อีกแห่งหนึ่ง รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมที่มีวัฒนธรรม ศาสนาและสังคมเป็นจุดเชื่อมกันและกัน ทำให้เกิดเอกลักษณ์ผ่านการนับถือพระพุทธศาสนาในมิติของความหลากหลายในกลุ่มชาติพันธุ์พม่า กระเหรี่ยง ไทใหญ่ และไทยพื้นถิ่น ไทล้านนา ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานโดยมีฐานของวัดเป็นจุดเชื่อมทำให้มีความทรงจำร่วมว่าเป็นวัดพม่า วัดไทใหญ่ ไทยเหนือ หรือวัดไทยพื้นถิ่น ซึ่งแม้ในปัจจุบันสภาพการณ์ดังกล่าวแม้จะมีความเปลี่ยนแปลง แต่ภาพลักษณ์ความทรงจำเหล่านั้นยังสะท้อนถึงความเป็นมาในอดีตและเชื่อมต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน
References
เจนจิรา ฝั้นเต็ม และคณะ,(2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวแบบจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 25(1), 135-150.
นพชัย สิทธิ และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้สาระท้องถิ่น เรื่อง แม่สอดศึกษาเพื่อส่งเสริมพลเมืองเข้มแข็ง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1), 96-108.
นพพล อัคฮาด. (2557). กระบวนการกำหนดนโยบายเพื่อการจัดตั้ง “นครแม่สอด”: ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชนชั้นนำ ในราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(2), 132-168.
บรรพต แคไธสง และพระมหาภิรัฐฐกรณ์ อํสุมาลี. (2558). การศึกษาวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์ในการปฏิบัติกรรมฐานสายนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (รายงานการวิจัย). บุรีรัมย์ : วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์.
บูชิตา สังข์แก้ว และพันธรักษ์ ผูกพันธุ์. (2561). สถานภาพและแนวทางการพัฒนานโยบาย การจัดการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ กรณีศึกษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารพัฒนาสังคม JSD, 20(1), 17-40.
พระครูวินัยธรปัญญา ปญฺญาวโร (ศรีสมุทร) และบุญเตือน ทรัพย์เพชร. (2563). การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมในมิติศาสนา ของคณะสงฆ์ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 105-118.
พระวงศ์แก้ว วราโภ (เกษร). (2555). การศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติกรรมฐานของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) กับพระธรรมวิสุทธิมงคล(บัว ญาณสมฺปนฺโน) (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิทักษ์ อินทิยศ. (2546). ปัญหาม้งอพยพสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกกับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพรินทร์ มากเจริญ. (2551). ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณชายแดน : กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพรินทร์ มากเจริญ. (2551). ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณชายแดน : กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มยุรี พูนผลวัฒนาภรณ์. (2553). ภาษาไทยถิ่นเหนือที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วรรณวิทัศน์, 10(1), 1-20.
ยรรยง เดชสะท้าน. (2561).ศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 9(2), 106-114.
รพีพรรณ จักร์สาน. (2015). ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์จีนและการสร้างอัตลักษณ์ของเมืองแม่สอด ตั้งแต่ พ.ศ.2510 ถึง พ.ศ. 2554. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 3(1), 15-39.
วสันต์ ปวนปันวงศ์. (2564). รัฐชาติสมัยใหม่ อำนาจทุนนิยม การพนันชายแดน ในพื้นที่แม่สอด-เมียวดี. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 12 (ฉบับเพิ่มเติม 1), 115-138.
ศุภชัย ศรีสุชาติ และแก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล. (2558). โครงการศึกษาวิเคราะห์ เรื่องแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในเขตเศรษฐกิจพิเศษ กรณีศึกษา : เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน.
สมัคร์ กอเซ็ม. (2019). ปฏิภาคภาวะของพรมแดนชาติพันธุ์และรัฐชาติในตลาดเมืองชายแดนแม่สอด . วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 22(2), 11-51.
สำเริง ปานดิษฐ์ และรุจี ศรีสมบัติ. (2560). ดนตรีพม่าในการแสดงพระธรรมเทศนา : กรณีศึกษาวงซายวายคณะเซ่ยเมี๊ยะโจว วัด ไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(2),81-89.
หริรักษ์ จันทิมะ.(2563). แนวทางเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด เพื่อรองรับการขยายตัว ของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เขตเศรษฐกิจพิเศษ “นครแม่สอด”. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 13(1), 99-117.
Tim, W. (2008). General Vang Pao's Last War. New York: Times Magazine.