ภิกษุณี พุทธบริษัทที่ถูกลืม: วิเคราะห์การเกิดขึ้นของภิกษุณี

ผู้แต่ง

  • นิกร ศรีราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชญณา ศิริภิรมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นพรุจ บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภิกษุณี, พุทธบริษัท, วิเคราะห์การเกิดขึ้น

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเป็นมาของภิกษุณี ความสืบเนื่องหรือความขาดสูญ และนำเสนอทางออกการรักษาพระพุทธศาสนาของภิกษุณี ผลการศึกษาพบว่า 1)ภิกษุณี คือสตรีที่ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุณีจากสงฆ์ทั้งสองฝ่ายกล่าวคือภิกษุณีสงฆ์และพระภิกษุสงฆ์เมื่อได้รับการบวชจากสงฆ์สองฝ่ายแล้วจึงเป็นภิกษุณีที่มีกฎระเบียบมากกว่าพระภิกษุสงฆ์คือมีศีลจำนวน 311 ข้อเป็นข้อปฏิบัติที่เข้มงวดในส่วนของภิกษุณีสงฆ์ในฝ่ายมหายานมีจำนวนมากไม่จำกัด สามารถทำการบวชได้จากพระสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ แต่ในฝ่ายเถรวาทไม่รับรองสถานะความสืบเนื่องหรือสืบต่อกันทำให้ภิกษุณีสงฆ์นี้ขาดไปตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว 2) ไม่มีการรับรองสถานภาพความเป็นภิกษุณีได้กล่าวคือไม่สามารถบวชภิกษุณีในพระพุทธศาสนาในบริบทของสังคมไทย 3)ทางออกที่จะบวชเป็นภิกษุณีได้ก็คือต้องไปอุปสมบทในต่างประเทศเท่านั้นแล้วกลับมาอยู่ในประเทศไทย การบวชเป็นแม่ชี อนาคาริก โกนผม นุ่งขาว ซึ่งก็มีไม่น้อยในประเทศไทย อาจจะเป็นทางออกสำหรับสตรีเพศที่อยากประพฤติปฏิบัติจนสามารถบรรลุธรรมได้ และภิกษุณีเองก็ต้องทำหน้าที่มีการประกาศพระพุทธศาสนาเชิงลึกในประเทศไทยเพื่อเป็นการแสดงถึงจุดยืนในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า

References

กรุณา เรืองอุไร กุศลาศัย. (2538). อินเดียอนุทวีปที่น่าทึ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทศยาม.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2513). บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2539). การพัฒนาสตรีในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์ ษัฎเสน.

ปาริชาติ สุวรรณบุบผา. (2545). แม่ชีกับภารกิจทางการศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2544). คณะสตรีในพระพุทธศาสน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

ภิกษุณีธัมมนันทา. (2560). บทบาทสตรีในการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.thaibhikkhunis.com

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (บาลี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ไทย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2562). การสื่อสารทางการเมืองเพื่อสถานะภิกษุณีในประเทศไทย: ศึกษากรณีภิกษุณีธัมมนันทา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, (8)1, 214-225.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23