พุทธศิลป์: จุดกำเนิด และคุณค่าในสังคมไทย
คำสำคัญ:
พุทธศาสนา, พุทธศิลป์, การอนุรักษ์, จุดกำเนิด, คุณค่าบทคัดย่อ
พุทธศิลป์เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการปฏิบัติตามหลักธรรม โดยมุ่งเน้นความงามที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาธรรมทางวัตถุ สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา พุทธศิลป์มีคุณค่าในสังคมไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพุทธศิลป์ใน 2 มิติ คือ จุดกำเนิดของพุทธศิลป์ และคุณค่าของพุทธศิลป์ในสังคมไทย พบว่า พุทธศิลป์มีจุดกำเนิดมาจากพุทธเจดีย์ 4 ประเภท อันเป็นมูลเหตุแห่งเจดีย์ทั้งหลาย เป็นสิ่งเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างงานพุทธศิลป์ โดยเกิดจากความเคารพศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า มิติของคุณค่านั้นพบว่า พุทธศิลป์มีคุณค่าในแง่ของ 1. คุณค่าทางจิตใจ พุทธศิลป์ล้วนแฝงไปด้วยคติธรรมและหลักคำสอน จึงมีคุณค่าในการเสริมสร้างจิตใจให้สงบ ร่มเย็น มีความสุข 2. คุณค่าทางเศรษฐกิจ เพราะพุทธศิลป์เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย 3. คุณค่าทางสังคม พุทธศิลป์เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีและความปรองดองของคนในสังคม 4. คุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณี พุทธศิลป์เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติไทย ซึ่งพุทธศิลป์ทั้ง 2 มิตินี้ ส่งผลต่อความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนไทย และให้ความรู้ทางด้านวิชาการต่าง ๆ อย่างหาค่ามิได้
References
เทพพร มังธานี. (2565). เจดีย์ตามคติทางพระพุทธศาสนา : ความหมายและแนวคิดพื้นฐานทางประติมานวิทยา. วารสารปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 93-115.
โกสุม สายใจ. (2560). พุทธศิลป์กับการจัดการความรู้. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(1), 1-10.
ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ. (2559). พุทธศิลป์: ถิ่นไทยศิลปกรรมเพื่อพุทธศาสนา. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 1(2), 59-74.
ธรรมะไทย. (2562). ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ มหัศจรรย์ข้าวต้มลูกโยน จังหวัดสระบุรี. สืบค้น 12 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.asia/SNIkT
บัวเงิน. (2560). คอลัมน์ รู้ไปโม้ด : สถูปเจดีย์. สืบค้น 12 กันยายน 2566, จาก https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_216090
พระครูสารภัทรกิจ (พานิช ฐิตสาโร). (2561). ศึกษาคติการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในสังคมไทย : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิกิพีเดีย. (2559). พระพุทธชินราช. สืบค้น 12 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.asia/Dl4Qa
วิชาญ เลี่ยวเส็ง. (2544). พุทธศิลป์กับการท่องเที่ยว : ศึกษาบทบาทของวัดในการอนุรักษ์พุทธศิลป์เพื่อการท่องเที่ยว (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมบูรณ์ คำดี. (2549). การศึกษาปรัชญาในงานพุทธศิลป์เพื่อแนวทางการออกแบบตกแต่งในพิพิธภัณฑ์พุทธศิลป์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการออกแบบภายใน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมศักดิ์ หุ่นงาม. (2558). ประเพณีชักพระที่เปลี่ยนไป. สืบค้น 12 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.asia/L9Dj3
สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2549). สังคมและวัฒนธรรมอีสาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อดุลย์ หลานวงค์ และคณะ. (2563). พุทธศิลป์: คุณค่าและอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร Journal of Buddhist Education and Research, 6(2), 265-272.
ISAN INSIGHT. (2018). Heat twelve kong ten four in the 1st floor painting Phra Mahathat Kaen Nakhon Nong Waeng Temple, Phra Aram Luang Khon Kaen. Retrieved September 12, 2023, from https://shorturl.asia/iuMbr
Travel kapook. (2019). Flower alms giving ceremony for Buddhist Lent, Saraburi 2019, worship Buddha's footprint with beautiful flowers. Retrieved September 12, 2023, from https://shorturl.asia/pEKaT