การพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
การสร้างปัญญา, การพัฒนามนุษย์, หลักพุทธศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้นำเสนอการพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธศาสนา เนื่องจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นระบบวิชาความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยวิชาความรู้ดังกล่าวจะก่อให้เกิดการพัฒนาชีวิตทั้งกาย จิต ปัญญาและรวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของชีวิตด้วย ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนา มองสรรพสิ่งเป็นธรรมชาติแวดล้อมซึ่งกันและกัน จึงปฏิบัติต่อทุกสิ่งให้เสมือนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งที่ต้องเกื้อกูลกัน ทำให้สามารถนำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนามนุษย์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสังคมและประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยบทความนี้ต้องการนำเสนอเครื่องมือในการสร้างปัญญาให้กับมนุษย์ซึ่งก็คือ การศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. การศึกษาทั่วไป และ 2. การศึกษาแบบไตรสิกขา เพื่อจะใช้การศึกษานั้นในการพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธศาสตร์ เป็นไปเพื่อการพัฒนาบุคคลให้สามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดี มีชีวิตที่มีคุณค่า สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อีกทั้งรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อความดำรงอยู่ของตนและเพื่อนมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
References
ดลมนรรจน์ บากา. (2532). การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบความเชื่อทางศาสนาและผลกระทบที่มีต่อลักษณะสังคม เศรษฐกิจและแนวการดำเนินชีวิตของชาวพุทธและชาวมุสลิม: ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอสุไหงปาตี จังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2537). จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม: โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาและปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญน้อย มุ่งงาน. (2533). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ค่านิยมแบบพุทธและการดำเนินชีวิตของชาวพุทธในปัจจุบัน: ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์อักษรศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ). (2537). เป้าหมายของการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิพพาน.
พูนสุข สนองลักษณ์. (2532). วิเคราะห์แนวคิดทางการศึกษาของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพรัช สู่แสนสุข. (2539). หลักการและกระบวนการของการเรียนรู้และการสอนตามหลักพุทธศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพื้นฐานการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วินัย วีระวัฒนานนท์ และสิวลี ศิริไล. (2530). สิ่งแวดล้อมศึกษาตามหลักพุทธธรรม (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2527). พุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2529). การประยุกต์หลักพุทธธรรมมาใช้ในการพัฒนาชนบท (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.