การบริหารงานเชิงพุทธกับบริบทคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระครูสุธรรมธีรานุยุต วัดจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
  • พระครูปลัดชาลิน กตปุญฺโญ วัดนางาม อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • พระครูวินัยธรมานะ หิริธมฺโม ที่พักสงฆ์ทุ่งสาลี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

การบริหารงานเชิงพุทธ, คณะสงฆ์ไทย, ปัจจุบัน

บทคัดย่อ

การบริหารงานเชิงพุทธเป็นภาระหน้าที่ของพระสังฆาธิการ จำเป็นต้องบริหารจัดการและช่วยขับเคลื่อน ซึ่งมีภาระอยู่ 6 ฝ่ายคือ 1.การปกครอง 2.การศาสนศึกษา 3.การศึกษาสงเคราะห์ 4.การเผยแผ่พระพุทธศาสนา 5.การสาธารณูปการและ 6.การสาธารณสงเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเถรสมาคม ในบริบทของการบริหารจัดการคณะสงฆ์จำเป็นต้องเข้าใจถึงธรรมนูญสงฆ์(พระธรรมวินัย), นโยบาย พันธกิจ และอำนาจหน้าที่,และหลักการบริหารเบื้องต้นคือ หลักการครงอตน ครองคน ครองงาน รวมถึงการนำหลักการบริหารบริหาร POSDC (Planning การวางแผน, Organizing การจัดองค์การ, Staffing งานบุคลากร, Directing การอำนวยการ, Controlling การกำกับดูแล) มาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อที่ 1. P Planing หมายถึง การวางแผน การกำหนดพันธกิจนโยบายของหน่วยเหนือ คือ มหาเถรสมาคมรวมถึง กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์และข้อที่ 2. O Organizing หมายถึง คือ การจัดองค์กร กำหนดโครงสร้างของการบริหารกิจการพระพุทธศาสนาตามอำนาจหน้าที่ โดยมีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ จึงจะสามารถบริหารจัดการคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยความเรียบร้อยและสามารถเผยแผ่คำสอนไปยังพุทธศาสนิกชนที่สนใจเพื่อเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่ได้

References

พระเทพปวรเวที. (2562). จากปฏิรูป สู่ การปฏิบัติ แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี). (2550). คนสำราญงานสำเร็จ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). การบริหารวัด. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

พิทยา บวรวัฒนา.(2546). การบริหารเชิงบูรณาการ. นนทบุรี: สำนักงานข้าราชการพลเรือน.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ.(2537). การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ไทย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03