ความเชื่อ ประเพณี และวิถีปฏิบัติต่ออัฐิของพุทธศาสนิกชนไทย
คำสำคัญ:
ความเชื่อ, ประเพณี, วิถีปฏิบัติ, อัฐิ, พุทธศาสนิกชนไทยบทคัดย่อ
เมื่อสิ้นลมหายใจก็สิ้นสุดความมีชีวิต คงมีแต่ความเชื่อ วิถีปฏิบัติ และพิธีกรรม ที่สังคมสร้างแล้วสืบต่อกันจนเป็นประเพณี ร่วมกับการตระหนักถึงคุณค่าทางจิตใจ ความผูกพัน และคุณงามความดี ส่งผลให้สร้างสัมมาทิฐิและสัมมาปฏิบัติต่อร่างกายผู้เสียชีวิตและสิ่งหลงเหลือจากพิธีสลายร่างคือเถ้ากระดูกหรืออัฐิ ทั้งนี้ อัฐิ มีหลากหลายลักษณะ สัณฐาน สี และขนาด อธิบายตามบริบทของศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวข้องกับอัฐิ เช่น พุทธศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ โบราณคดี วิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับวิถีชีวิต สภาพแวดล้อม ศาสนา และความเชื่อ ซึ่งความเชื่อในทางพุทธศาสนาเรียกว่าศรัทธา พุทธศาสนิกชนศรัทธาและนับถือพระอัฐิของพระพุทธเจ้า เป็นปูชนียวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุด ด้วยว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งพุทธสรีระและเป็นพุทธบารมี จึงนิยมบูชาด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา รวมทั้งสร้างสัมมาสัมพุทธเจดีย์
สำหรับ อัฐิของพุทธศาสนิกชนไทยทั่วไปมีพิธีกรรมและวิถีปฏิบัติหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเชื่อและประเพณีในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาค รวมทั้งบริบทของสังคมและของโลก เช่น เก็บอัฐิใส่โกศ ใส่ไว้ในช่องเก็บอัฐิในวัด ไว้บนหิ้งบูชาที่บ้าน ลอยอังคาร สกัดอัฐิเป็นเพชร ทำอัฐิมณีและอัฐิภาพ นำอัฐิไปผสมดินปลูกต้นไม้
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN: 978-974-9536-68-1. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก http://www.nabon.go.th /news/doc_download/a_100717_140422.pdf.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). วิธีบูชาและคำกล่าวบูชา ใน ความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564, จาก ebook.dra.go.th/p/26html.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). ศาสนพิธีและมารยาทไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิตินัย นุตกุล. (2555). พระบรมสารีริกธาตุในพิพิธภัณฑ์. ใน เรื่องเล่าจากอินเดีย สารพันบทความจากสถานทูต. สืบค้น 5 มกราคม 2565, จาก http://newdelhi.thaiembassy.org /th/2012/07/พระบรมสารีริกธาตุในพิพ.
กุลจิรา สุจิโรจน์. (2558). เก็บความรักความทรงจำผ่านเถ้ากระดูก. สืบค้น 15 มิถุนายน 2564, จาก http://www.mindmani.com/Blog/mindmani service innovation.
ปกรณ์ ตันสกุล. (2552). ความสำคัญของพิธีกรรมตามประเพณีโบราณ. ใน พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN: 978-974-9536-68-1. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จากhttp://www.nabon.go.th/news.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ: วัดราชโอรสาราม. สืบค้น15 มิถุนายน 2564, จาก http://www.e4thai.com /e4e/images/pdf2/Kumwat.pdf.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม Dictionary of Buddhism Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto) (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ISBN 974-8357-89-9.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2547). พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุกับคนไทย. มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก https://www.mcu.ac.th /article/detail/14348.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มิ่งขวัญ รัตนคช. (2562). Life after Life: โครงการปลูกต้นไม้ด้วยเถ้ากระดูก ภารกิจคืนร่างกายมนุษย์สู่ธรรมชาติที่เปลี่ยนความรัก ปรารถนาดี ต่อผู้ตายให้กลายเป็นป่า. สืบค้น 18มิถุนายน 2564, จากhttps://readthecloud.co/yod-lauan.
มูลนิธิพระบรมธาตุในพระสังฆราชูปถัมภ์. (2546). พระบรมสารีริกธาตุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์. ISBN 974-91474-0-5.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
เลี้ยง หุยประเสริฐ. (2550). การเน่าสลายตัวของร่างกาย. ใน นิติเวชศาสตร์สำหรับพนักงานสอบสวน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.
ศูนย์อัญมณีและเครื่องประดับ. (2562). ALGORDANZA ผู้ริเริ่มเพชรแห่งความทรงจำ. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.git.or.th.
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2487). เรื่องสืบพระศาสนาในอินเดีย ใน นิทานโบราณคดี. สืบค้น 25 มกราคม 2565, จาก https://vajirayana.org/นิทานโบราณคดี/นิทานที่-๗-เรื่องสืบพระศาสนาในอินเดีย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 32. ISBN 974-575-029-8.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 320 หน้า. ISBN 978-616-389-061-0.
Arora, A.K., Gupta, P., Kapoor, S.S. and Mahajan, S. (2010). An analytic review of burnt bones in medicolegal sciences. Journal of Punjab Academy of Forensic Medicine & Toxicology. 10: 31-36.
Krap, T., Ruijter, J. M., Nota, K., Karel, J., Burgers, A. L., Aalders, M.C.G., Oostra, R.J. and Duijst, W. (2019). Colourimetric analysis of thermally altered human bone samples. Scientific reports. Retrieved June 20, 2021, from https://www.nature.com/articles/s41598-019-45420-8.pdf.