การส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรของธุรกิจประกันวินาศภัย ตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ชญณา ศิริภิรมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสมรรถนะ, สมรรถนะบุคลากร, บุคลากรธุรกิจประกันวินาศภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรของธุรกิจประกันวินาศภัย ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรของธุรกิจประกันวินาศภัยและนำเสนอการส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรของธุรกิจประกันวินาศภัย ตามแนวพระพุทธศาสนา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวน 387 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถาม

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรของธุรกิจประกันวินาศภัย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรของธุรกิจประกันวินาศภัย ระดับการส่งเสริมมรรถนะบุคลากรตามองค์ประกอบของสมรรถนะ ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 65.2 ปัจจัยการส่งเสริมสมรรถนะตามปัจจัยสมรรถนะทำนายได้ร้อยละ 55.7 ปัจจัยการส่งเสริมสมรรถนะตามหลักพละ 4 ทำนายได้ร้อยละ 68.7 3. 3.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ เน้นที่ผลงานให้อิสระในการทำงาน ผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3.2 การบริการที่ดี มีการบริการที่รวดเร็วฉับไว บุคลากรให้บริการด้วยความสุภาพ และให้บริหารด้วยความรวดเร็ว 3.3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ บุคลากรมีความรู้ด้านงานประกันวินาศภัย บุคลากรมีประสบการณ์ในการทำงาน 3.4 การยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม บุคลากรปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรมขององค์กร มีความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน และ3.5 ความร่วมแรงร่วมใจ บุคลากรให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

References

ดาระกา ศิริสันติสัมฤทธิ์. (2552). การศึกษารูปแบบสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ธงชัย สันติวงษ์. (2554). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญพัฒน์.

ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และคณะ.( 2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่ม ของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39(4), 56-77.

สมาคมประกันวินาศภัยไทย. (2564). ข่าวประชาสัมพันธ์ สืบค้น 20 กรกฎาคม 2565, จากhttps://www.tgia.org/upload/file_group/29/download_1938.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2564). เอกสารวิชาการการประเมินผลการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2558). คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุวรีย์ สิริโภคาภิรมณ์. (2564). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

อภิชัย ศรีเมือง. (2557). การบริหารคณะกรรมการในองค์กร = Organization committee. กรุงเทพฯ: เอชอาร์เซ็นเตอร์.

Ledford, E.G. & Heneman, L. R. (1998). Competency Pay for Professionals and Managers in Business: A review and Implications for Teachers. Journal of Personnel Evaluation in Education, 12(2), 103-121.

Likert R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin. Ed. New York: Wiley and Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03