การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • เรืองยศ สารพุฒิเศรษฐ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักไตรสิกขา, การพัฒนา, ทุนมนุษย์อาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา และเพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนาทุนมนุษย์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่ ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านทักษะ อันดับสามคือ ด้านความรู้ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามลำดับ 2. ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษา พบว่า การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 มีอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาชีวศึกษา และหลักไตรสิกขา พบว่ามีอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์อาชีวศึกษาตามโมเดล BMW ประกอบด้วย ศีล (พฤติกรรม : Behavior) จะทำให้ผู้เรียนเกิด “คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์” การพัฒนาตามสมาธิ (จิตใจมุ่งมั่น : Mind) จะทำให้ผู้เรียนเกิด “ความรู้” และการพัฒนาตามปัญญา (องค์ความรู้ : Wisdom) จะทำให้ผู้เรียนเกิด “ทักษะ” และ “ความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ”  

References

ชนะยุทธ เกตุอยู่. (2559). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธตามแนวทางของพระสังฆพัฒนาในจังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (มปท.). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

ธนพล บรรดาศักดิ์ และคณะ. (2558). การเป็นผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21: มุมมองจากอาจารย์และนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(2), 175-189.

ไพบูลย์ สายด้วง. (2560). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสหกรณ์การเกษตรจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมนึก ธีรปญฺโญ (กลับน้อม). (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศศิพัชร์ วัฒนรวีวงศ์. (2564). พุทธบูรณาการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2564). รายงานสรุปจำนวนบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://techno.vec.go.th.tabid/766/ArticleId/24893/language/thTH/24893.aspx.

อติพร เกิดเรือง. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(1), 781-782.

Living Excellence News. (2563). ศธ. เร่งยกระดับอาชีวศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ มุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์รองรับตลาดแรงงาน เพิ่มศักยภาพทัดเทียมมาตรฐานสากล. สืบค้น 31 ธันวาคม 2564, จาก https://www.livingexcellencenews.com/17662303.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03