การบูรณาการหลักการกุญแจเก้าดอกของ สถาบัน พลังจิต ธรรมะ จักรวาล (PDJ Institute) เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์

ผู้แต่ง

  • นัทปภา นุชาภัทร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักการกุญแจเก้าดอก, สถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล, ทุนมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาลเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาทุนมนุษย์เมื่อบูรณาการร่วมกับกุญแจดอกที่ 3 กุญแจแห่งการสำรวจตนเอง กุญแจดอกที่ 9กุญแจแห่งการให้ กุญแจดอกที่ 4 กุญแจทักษะการสื่อสารและทักษะทางปัญญา กุญแจดอกที่ 7 กุญแจแห่งภาวะผู้นำ ส่งผลให้เกิดทุนทางปัญญาที่ไม่ถูกจำกัดแค่ภายในตัวบุคคล แต่ทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ทำให้เกิดกระบวนการความคิดเชิงสร้างสรรค์ ทุนทางสังคมคือการบูรณาการหลักการกุญแจดอกที่ 2 คือทักษะทางปัญญา กุญแจดอกที่ 4 ในการสื่อสารแบบสันติเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม และกุญแจดอกที่ 8 ในการยอมรับความแตกต่างของบุคคลในองค์กร ส่งผลให้เกิดความเข้าใจและให้ความรักผ่านกุญแจดอกที่ 9 คือกุญแจแห่งการให้ ส่งผลให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทุนทางอารมณ์ทำให้เกิดการบริหารจัดการอารมณ์ผ่านการบูรณาการกุญแจดอกที่ 3 คือกุญแจแห่งการสำรวจตน ทำให้เข้าใจความคิด รู้สึกของตนเอง ทำให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร ลดภาวะการณ์หมดไฟในการทำงาน และการนำกุญแจดอกที่ 9 คือกุญแจแห่งการให้ จะทำให้เพิ่มความผูกพันต่อองค์กร สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตามทิศทางกระแสสังคมโลกได้อย่างเหมาะสม

References

ชณภา ปุญณนันท์ (2563). การพัฒนาตนผ่านปรัชญากุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิตธรรมะ จักรวาล. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 14(3), 308-318.

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2550). ทุนมนุษย์การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อพัฒนา. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ดนัย ผ่องแผ้ว และคณะ. (2564). ทุนมนุษย์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรภาครัฐ. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 6(5), 289-302.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน 2565, จากhttps://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct2018 .pdf

สุคนธิการ์ จินะเป็งกาศ และวิโรจน์ อินทนนท์. (2563). การวิเคราะห์แนวคิดมนุษยนิยมใน ปรัชญาเต๋า. วารสารปณิธาน, 16(1), 125-157.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2563). รวมแผนยุทธศาสตร์. สืบค้นวันที่ 17 มิถุนายน 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/main.php?filename=develop_issue

สิวลี ศิริไล. (2555). จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1994). Self-efficacy. In V. S. Ramachaudran (Ed.). Encyclopedia of human behavior, 4, 71-81.

Bhandari, C. (2020). Non-violent Communication and Its Implication in Our Everyday Life. PENN Bulletin, 4, 27-32.

Bodie, G. D. (2011). The Active-Empathic Listening Scale (AELS): Conceptualization evidence of validity within the interpersonal domain. Communication Quarterly, 59, 277–295.

Carden J, et al. (2022). Defining Self-Awareness in the Context of Adult Development: A Systematic Literature Review. Journal of Management Education. 46(1), 140-177.

Chonnapha P. (2021). Effect of Dharma Practices on Psychological Well-Being of the Participants Mental Development and Create Intellectual Program of the Palangjit Dharma Jakrawan Institute (PDJ) Applying the Principles of the Nine Keys Philosophy. PSYCHOLOGY AND EDUCATION.58(1), 5503-5509. http://doi.org/10.17762/pae.v5i1.2166.

Fredrickson, B. L. (2001). The role of positive emotions in positive psychology. The broaden-and-build theory of positive emotions. The American Psychologist. 56(3), 218–226. https://doi.org/10.1037// 0003-066x.56.3.218

Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence: Why It Can Matter More than IQ. New York: Bantam Books.

Lim, G. S., et al. (2013). Human ResourceDevelopment for Effective Organizations. Singapore: Cengage Learning Asia

Mahsud, R., et al. (2010). Leader empathy, ethicalrelationship, and relations-oriented behaviors as antecedents of leader-member exchange quality. Journal of Managerial Psychology, 25(6), 561-577.

Horton, W.S. and Spieler, D.H. (2007). Age-related differences in communication and audience design. Psychology and Aging, 22, 281– 290.

Harris, A. (2009). Creative leadership. Journal of Management in Education, 23(1), 9-11

Laugeson, E. A., et al. (2015). A randomized controlled trial to improve social skills in young adults with autism spectrum disorder. Journal of Autism and Developmental Disorders, 45(12), 3978-3989.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01