รูปแบบการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตเพื่อความเป็นเลิศของกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของไทย

ผู้แต่ง

  • มาลินี กลีบทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, ระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการ, อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างความเป็นเลิศ เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสร้างความเป็นเลิศ และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตเพื่อความเป็นเลิศของกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของไทย ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 370 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 คน และสนทนากลุ่มเฉพาะ 9 รูปหรือคน

          ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างความเป็นเลิศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.18) โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ การมุ่งเน้นบุคลากร และอยู่ในระดับมากดังนี้ การนำองค์กร การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ การมุ่งเน้นลูกค้า ผลลัพธ์ และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสร้างความเป็นเลิศ พบว่า นิเวศอุตสาหกรรม การบริการแห่งอนาคต และหลักธรรมสุจริต 3 มีอิทธิพลทางตรงทางอ้อม ส่งผลต่อการสร้างความเป็นเลิศในองค์กร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3. รูปแบบการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการ ตามโมเดล 4S ประกอบด้วย 1) องค์กรความเป็นเลิศอัจฉริยะ (Smart Organization) 2) นิเวศอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Eco Industry) 3) การให้บริการแห่งอนาคตอัจฉริยะ (Smart Future Service for Excellence) และ 4) หลักสุจริตธรรมอัจฉริยะ (Smart Good Conduct)  

References

กลุ่มยุทธศาสตร์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2562).แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563–2565) ของกระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

ชยาภร สารีรัตน์. (2563) การบริหารสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(1), 51-60.

ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ และ สุภาภร ภิญโญฉัตรจินดา. (2560). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอาหาร กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ลาดกระบัง สมุทรสาคร บางพลี และบางปู. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 716-717.

วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์. (2557). การวัดนวัตกรรมการบริการของธุรกิจท่องเที่ยวไทย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสาร วิทยาการจัดการ. 31(1), 119-146.

ศิริ พันธ์ทา. (2559). หลักสุจริตธรรมกับการบริหารองค์การอย่างยั่งยืน. Journal of Modern Learning Development, 1(1), 1-6.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2649). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโนกราฟฟิกส์ จำกัด.

สมาคมผู้นำเข้าและผู้ส่งออกระดับมาตรฐานเออีโอ. (2564). กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.thaiaeo-ie.or.th/14778428.

เสาวภา เมืองแก่น. (2561). องค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 328-341.

HR note.asia. (2564). การพัฒนาองค์กร (Organization Development: OD) ให้ก้าวสู่ความสำเร็จ. สืบค้น 2 มกราคม 2564, จาก https://th.hrnote.asia/

orgdevelopment/190610-organization-development-od/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01