การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรม ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
การจัดการทรัพยากรมนุษย์, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี
ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.95) โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ การประยุกต์หลักสากลอย่างเหมาะสม รองลงมาคือ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การเรียนรู้และพัฒนาตน และมุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง พบว่า กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และหลักไตรสิกขา ส่งผลต่อทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ได้ร้อยละ 53.9 และ 52.8 (Adjust R2=0.539, 0.528) 3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย 1) ทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง 4 ด้านคือ การเรียนรู้และพัฒนาตน มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม ประยุกต์หลักสากลอย่างเหมาะสม และขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 4 ด้านจะมีประสิทธิผลก็ด้วยอาศัยหลักของศีล การรักษาพฤติกรรม โดยการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักศีล 5, หลักของสมาธิ การพัฒนาจิตใจ โดยมีสติ มีความอดทน อดกลั้น มีน้ำใจ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, และหลักของปัญญา การฝึกฝนพัฒนาปัญญา โดยการศึกษา หาความรู้อยู่เสมอ
References
ไกรวิน ไชยวรรณ. (2559). การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารงานบุคลากรด้านการบินด้วยหลักพุทธธรรมของสถาบันการบินพลเรือน (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คมนภัค กฤดากร ณ อยุธยา. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. วารสารพุทธมัคค์, 2(2), 22-39.
ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เดชากร แก่นเมือง และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้น 12 มิถุนายน 2565, จาก http://www.hu.ac.th/conference/conference2013/
Proceedings2013/pdf/Book3/Poster1/235_209-218.pdf
พระมหาศุภกิจ สุภกิจฺโจ (ภักดีแสน). (2558). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมพ์ลิขิต ทองรอด. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(2), 49–79.
วราภรณ์ พงษ์ดี. (2558). ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง. วารสารไตรศาสตร์ Three- Science. 1(1), 77-85.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rded, New York: Harper and Row.