การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภูริพัฒน์ ถนอมศรีอุทัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี

          ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้านได้แก่ การตลาดและการขาย และอยู่ในระดับมากดังนี้ การดำเนินงานของฝ่ายต่าง ๆ การจัดส่งสินค้าออก การนำวัสดุอุปกรณ์สินค้ามาใช้ในธุรกิจ และผลิตภัณฑ์และการให้บริการ 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง พบว่า ปัจจัยกดดันทั้ง 5, หลักทุติยปาปณิกธรรม และกิจกรรมสนับสนุน มีค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวม ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (กิจกรรมหลัก) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การบูรณาการหลักทุติยปาปณิกธรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย โดย 1) จักขุมา (มีวิสัยทัศน์) โดยการดำเนินธุรกิจอาศัยกระบวนการคิดที่รอบคอบและมีเหตุผล ศึกษาแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจอย่างแม่นยำ 2) วิธูโร (จัดการดี) โดยส่งเสริมให้บุคลากรค้นคว้า วิจัยเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค เรียนรู้ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ ศึกษาดูงานต่างประเทศและนำมาพัฒนาองค์กร 3) นิสสยสัมปันโน (มีมนุษยสัมพันธ์) โดยติดต่อประสานงานกับพ่อค้านายทุน ให้ความร่วมมือและประสานงานในทุกระดับ ยึดหลักของความเสมอภาคในการทำงานร่วมกัน

References

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.

พุทธพร อักษรไพโรจน์ และประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2558). ขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาในโรงแรมและรีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 5(3), 35-45.

รพีพร จันทุมา. (2556). การพัฒนาเพื่อการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าสมุนไพร : กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.), 1(3), 63-71.

วัชราภรณ์ ตั้งประดิษฐ์. (2560). รูปแบบคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในประเทศไทย (หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

สมบัติ นามบุรี. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย. (2564). โควิด-19 ฉุดตลาดเครื่องสำอางปีนี้ยอดขายตก 10%. สืบค้น 3 มกราคม 2564, จาก : https:/thaicosmetic.org/index.php/ Tcmanews/news-from-fda/62-19-10.

สุเนตร ชัยป่ายาง. (2561). ภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเพื่อดำรงสถานะความเป็นครู. วารสารใบลาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 3(1), 77-78.

Krungthai SME. (2564). ตลาดเครื่องสำอาง. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://sme.krungthai.com/sme/Indaction?command=home.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01