การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • วิสิษฐ์ สมบูรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =3.56) และเรียงลำดับดังนี้ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานอัตลักษณ์และวิถีไทย และการกระจายรายได้สู่ทุกพื้นที่และทุกภาคส่วน ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า การจัดการท่องเที่ยว และหลักสัปปุริสธรรม ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 52.1 และ 42.0 (Adj. R2=0.521, 0.420) 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน โดยการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน 4 ด้านคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล การกระจายรายได้สู่ทุกพื้นที่และทุกภาคส่วน การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานอัตลักษณ์และวิถีไทย โดยนำหลักสัปปุริสธรรม 7 เข้ามาบูรณาการกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน โดยรู้เหตุ (ธัมมัญญุตา) รู้ผล (อัตถัญญุตา) รู้ตน (อัตตัญญุตา) รู้ประมาณ (มัตตัญญุตา) รู้กาล (กาลัญญุตา) รู้ชุมชน (ปริสัญญุตา) และรู้บุคคล (ปุคคลัญญุตา)

References

กชนิภา อินทสุวรรณ์. (2564). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฐานเศรษฐกิจ. (2564). TOP10 จังหวัดโกยรายได้ท่องเที่ยวไทย-เทศ. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564, จาก : https://www. thansettakij.com/content/business/411965.

ถนัด ไชยพันธ์. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประชาชาติธุรกิจ. ท่องเที่ยวอยุธยาโตทะลุ 1.5 หมื่นล้าน แรงหนุนละครดัง-ททท. เร่งอัดอีเวนต์ดึงทัวริสต์. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/lo cal-economy/news-130852.

พระครูปลัดเถรานุวัตร (สุเทพ สุเทวเมธี). (2560). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญฺโญ (สันยศติทัศน์). (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลงทุนศาสตร์. (2564). ธุรกิจท่องเที่ยวสำคัญกับเศรษฐกิจไทยมากขนาดไหน, สืบค้น 20 ธันวาคม 2564, จาก : http://www.investerest.co/economy/travel-business-and-thai-economy/.

วันเพ็ญ พุทธานนท์. (2564). ท่องเที่ยวปี 63 ยัง “ฝ่าดงหนาม” แนะใช้เทคโนโลยี–ปรับรับนักเที่ยวเปลี่ยน. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.ThebangkokinSig ht.com/273292/.

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร. (2562). รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติเศรษฐกิจและสังคม. (2557) การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสกสรรค์ สนวา และคณะ. (2563). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 259-275.

Cochran, W.G. (1963). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01