การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการให้บริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วารินทร์ จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การให้บริการสาธารณะ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการสาธารณะ ทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการสาธารณะ และนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า การให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการบริหารและหลักอิทธิบาท 4 สามารถร่วมกันทำนายการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร้อยละ 83.5 โดยองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี ควรการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการให้บริการสาธารณะ ดังนี้ 1) บริหารบุคลากร โดยการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และใช้หลักอิทธิบาท 4 คือ ความรักในการทำงาน เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น 2) บริหารงบประมาณ โดยการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ และใช้หลักของอิทธิบาท 4 คือ ความละเอียดรอบครอบ เพื่อสร้างความโปร่งใส 3) บริหารวัสดุอุปกรณ์ โดยการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และใช้หลักอิทธิบาท 4 คือ ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรค เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4) บริหารจัดการ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม และใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการองค์กร เพื่อพัฒนาการทำงานให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น

References

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดชาติชาย ญาณโสภโณ (ขุมเงิน). (2563). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุของเทศบาลในจังหวัดลำพูน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 158.

พระสมนึก ธีรปญฺโญ (กลับน้อม). (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มุกรวี ฉิมพะเนาว์. (2563). การศึกษานโยบายสาธารณะกับมุมมองเชิงวาทกรรม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 293-305.

ยุติธรรม ปัทมะ. (2558). การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น (The Local Administrative Reform). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

รัชนี นาแว. (2563). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(2), 394-410.

รัฐกิจ หิมะคุณ. (2557). การบริหารจัดการกิจการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.). วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(1), 151-164.

วุฒิสาร ตันไชย และเอกวีร์ มีสุข. (2557). ปัญหาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/.

อริสรา ป้องกัน. (2559). การบริหารจัดการที่ดีในการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลเขตพื้นที่ภาคเหนือ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคม ศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(2), 314-325.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd. ed.). Tokyo: Harper International Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01