รูปแบบการบริหารจัดการเสนาสนะที่พึงประสงค์ของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, เสนาสนะ, วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์สภาพทั่วไป กระบวนการบริหารจัดการ และนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการเสนาสนะที่พึงประสงค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป/คน การสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 8 รูป/คน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 224 รูป มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.993
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไป วัดมีการพัฒนาตามหลักสุขาภิบาล วัดขาดความรู้เรื่องสัปปายะ และสุขาภิบาลอย่างถูกต้อง การก่อสร้างปรับปรุงได้รับทุนจากศรัทธาที่มีต่อวัด ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรคทำให้ขาดสภาพคล่อง 2) กระบวนการฯพบว่า มีการวางแผนงาน การดำเนินงานก่อสร้างตามหลักสัปปายะ 4 มีคณะกรรมการตรวจสอบการทำงาน เมื่อพบความผิดพลาดแก้ไขปัญหาทันที ผลการวิจัยเชิงปริมาณ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D.=0.71) 3) รูปแบบการบริหารจัดการเสนาสนะที่พึงประสงค์ของวัดในจังหวัดอยุธยา 1. ด้านความต้องการของร่างกาย จัดเสนาสนะให้เหมาะสม 2. ด้านความต้องการทางจิตใจและสังคม จัดเสนาสนะให้ควรแก่ปฏิบัติธรรม 3. ด้านการป้องกันโรคติดต่อ หมั่นตรวจสอบกำจัดพาหะนำโรค 4. ด้านการป้องกันอุบัติเหตุ มีระบบป้องกันภัยต่าง ๆ และแสงสว่างที่เพียงพอ
References
กมล ภู่ประเสริฐ และคณะ. (2535) การบริหารและการจัดการวัดผลและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุโขทัยธรรมาธิราช.
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยหลักการบริหารและการจัดการวัดในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา. 2540.
กฤษณพงศ์ ฟองสินสุ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ (รายงานผลการวิจัย). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
กองแบบแผน. (2560). เกณฑ์มาตรฐานระบบบริการสุขภาพด้านอาคารและสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
โชติ บดีรัฐ. (2554). การบริหารงานของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 4 เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์.
ธวัชชัย ธรรมรักษ์. (2549). ยุทธศาสตร์การบริหารงานปกครองแบบพิเศษเมืองปริมณฑล ศึกษากรณี จังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
พงษ์ศักดิ์ ปัญจพรผล. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏนครปฐม.
พระครูปลัดปรีชา จิรนาโค (บัวผัด). (2558). รูปแบบการจัดการสาธารณูปการของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 14 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูพิมลสุวรรณเขต (สนิท สุวณฺโณ). (2560). การพัฒนาการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสันติธรรมาภิรัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2557). การพัฒนารูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ในเขตการปกครองภาค 14 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2540). การคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธฤติ วิโรจโน (รุ่งชัยวิทูร). (2551). รูปแบบการพัฒนาพระสังฆาธิการเพื่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุนันท์ อินัง. (2565). แนวทางในการพัฒนาวัดไร่ชิง (พระอารามหลวง) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 6(1), 3-4.
พระอัครเดช ญาณเตโช. (2557). พุทธวิธีการบริหาร. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-58(500)/page1-5-58
(500).html
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท จำกัด.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.
สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2564). บัญชีแสดงจำนวนพระสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2545). การพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2555). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุรัตน์ ศรีจันทร์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจคัดเลือกคุณสมบัติผู้เข้าประมูลงานการก่อสร้างของหน่วยงานราชการ (รายงานผลการวิจัย). ปราจีนบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุวรีย์ ศิริโภคารภิรมย์. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฎเทพสตรี
อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.