ทัศนคติและพฤติกรรมด้านสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภค ในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, พฤติกรรม, สุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อสุขภาพ และพฤติกรรมด้านสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการซื้อยาแผนปัจจุบัน และอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 41 - 50 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท และมีสิทธิในการักษาจากประกันชีวิต การวิเคราะห์ความแตกต่างของเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และสิทธิ์ในการรักษามีผลต่อทัศนคติต่อสุขภาพและพฤติกรรมด้านสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพรที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติด้านความคิด ด้านการปฏิบัติงาน ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจต่อสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพร
การศึกษานี้สามารถนำไปเป็นแนวทางให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันในการปรับปรุงระบบการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม และเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพของผู้บริโภค
References
Bank of Ayudhya Public Company Limited. (2020). Business/Industry Trends” 2020 – 2022: pharmaceutical industry. Retrieved 2022 10, August, from https://www.krungsri.com/th/research/industry/.
Blackwell, R. D., & Miniard, P.W. (1986). Consumer behavior (5th ed.). Hinsdale: The Dryden.
Bukbun, P. (2019). New health management in a dynamic society. Nonthaburi: Research Institute Foundation and Community Health System Development.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons.
Health Education Division. (2013). behavior modification health by community. Retrieved fromhttp://www.hed.go.th/linkhed/file/89.
Kasempipatkul, S. (2014). Factors Affected the Drug Retailer’s Satisfaction toward Pharmaceutical Manufacturer and Distributor: Case Study of T. Man Pharma Incorporation (Master’s Thesis). Bangkok: Bangkok University.
Kumsin, K. (2015). Consumer attitude toward pharmacy services (traditional and modern) (Master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
Limpiviriyachit, C. (2014). Public opinions towards factors affecting buying decisions at hock sale tung drugstore, Trat province. (Master’s thesis). Chonburi: Burapha University.
Nakwijit, B. (2008). Psycho-social factors related to self – care behavior and happiness of the senior citizen club members in the hospitals under medical service department, Bangkok metropolis (Master’s Thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.
Nanthamas, P., et al., (2020). Economic and business trends in the era New Normal. Retrieved 2022 10, August, from https://shorturl.asia/cyslW
Pimpaiboon, W. (2001). Marketing factors influencing brand loyalty. (Master’s Thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.
Rengsri, C. & Kunchanpan, M. (2019). Attitudes towards electric motorcycles of students Naresuan University. (Bachelor's thesis). Phitsanulok: Naresuan University.
Sutaksina, W. (2015). Factors affecting buying decision on medicine in drugstore in Bangkok (Master’s Thesis). Bangkok: Thammasat University.
Sripong, A. (2013). Medicine purchasing behavior of consumers at the drugstores in wang sombun district, Sa Kaeo Province (Master’s Thesis). Chonburi: Burapha University.
Thungsomworapong, S. (2020). CEO Survey: Economic Outlook for the last 9 months of 2020 SET CEO Survey Economic Outlook (Apr – Dec 2020). Retrieved 2022 10, August, from https://shorturl.asia/jWof9
Worabutr, C. (2007). Self-health care behaviors among the middle age residents in amphoe srisawat changwat Kanchanaburi. (Master’s thesis). Bangkok: Silpakorn University.
Yongjaroeanchai, C. (2020). Covid-19: Business uptrend during economic downturn as a result of the new coronavirus. Retrieved 2022 10, August, from https://www.bbc.com/thai/thailand-52163423.