แนวทางการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21ของครูตามตัวชี้วัดรายมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วรรณพัทร ซื่อตรง โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย

คำสำคัญ:

การนิเทศภายใน, ศตวรรษที่ 21, ตัวชี้วัดรายมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการนิเทศ 2. เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแนวทางการนิเทศ และ 3. เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการนิเทศ กลุ่มประชากร คือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 23 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  และ S.D.

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของครูเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทักษะภาษาอังกฤษ ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการวางแผนการนิเทศ ความต้องการใช้หลักการนิเทศภายในโดยการสร้างความมีมนุษยสัมพันธ์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด แนวทางการนิเทศมี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การเตรียมความพร้อม ด้านที่ 2 การกำหนดเป้าหมาย ด้านที่ 3 การวางแผน  ด้านที่ 4 การดำเนินการ ด้านที่ 5 การประเมินผลและด้านที่ 6 การรายงานผล ผลที่เกิดขึ้นกับครู นักเรียนและผลความพึงพอใจต่อแนวทางการนิเทศ คือ ครูมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการนิเทศเพิ่มขึ้น สามารถพัฒนาการสอนให้มีคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการใช้แนวทางการนิเทศ พบว่า ครูมีคุณภาพตามมาตรฐานตามที่กำหนดไว้

References

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

จุฬาลักษณ์ โคตรจักร์. (2563). กระบวนการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนภัทรญาณวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทัศกร โนชัย. (2559). การดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนวังสมบูรณ์วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์. (2563). รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 302-314.

นภัสนันท์ อุปรี. (2560). รูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2), 101-112.

วิโรจน์ ศรีภักดี. (2553). การนิเทศภายใรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิไลรัตน์ บุญสวัสดิ์. (2538). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2559). แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับภาษาไทย (สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ), 37(1), 1–9.

สมชาย เทพแสง. (2547). E-Leadership: ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 7(1), 55-62.

Murangi, V.K. (1995). Instructional Supervision in Namibia: A Study of High School Teacher and Supervisor Perceptions. Africa, 59(78), 25-47.

Showers, B., & Joyce, B. (1996). The Evolution of Peer Coaching. Educational Leadership, 53, 10-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08