การประเมินโครงการนวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วรรณพัทร ซื่อตรง โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย

คำสำคัญ:

CIPPIEST โมเดล, นวัตกรรม, สื่อการเรียนรู้ครู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการนวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ครูสู่มาตรฐานสากล โดยรูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 4 คน ครู 142 คน ประธานเครือข่ายผู้ปกครองระดับชั้น ม.1-6 จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 153 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่างได้จากการเปิดตารางของ Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970) ไม่น้อยกว่า 108 คน

โดยผลการประเมินประกอบด้วย 1. ด้านบริบท พบว่า มีความสอดคล้องกับแนวนโยบายการจัดการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต้นสังกัด 2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โรงเรียนมีความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการในการดำเนินงาน 3. ด้านกระบวนการพบว่า ครูมีความพยายามในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ด้านผลผลิต 5. ผลการปฏิบัติงานของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 6. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยรวมสูงขึ้น 5 ด้านผลกระทบ พบว่าพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการใช้นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด 7. ด้านประสิทธิผล พบว่า ครูมีพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมและสื่อของครูอย่างคุ้มค่าและมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 8. ด้านความยั่งยืน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 9. ด้านการถ่ายโยงความรู้ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 10. ผลการประเมินความพึงพอใจ ในภาพรวมบุคลากรโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรณ์สิณี ฐิติกรประภาพงศ์. (2559). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการใช้

อินเทอร์เน็ต ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2. วารสารมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 1-13.

ชนัญชิดา ม่วงทอง. (2560). ความสัมพันธ์เชิงปรากฏการณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1), 163-174.

ฐิติวัสส์ สุขป้อม และคณะ. (2563). ครูกับเทคโนโลยีการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(2), 1-17.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.

นฤมล เอกธรรมสุทธิ์ และสิรารักษ์ เจริญศรีเมือง. (2564). แนวทางการประยุกตใชรูปแบบการประเมิน CIPPiest ในการประเมินโครงการทางสุขภาพ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร, 11(2), 137-148.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). CIPP และ CIPPIEST มโนทัศที่คาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-24.

วิชัย นภาพงษ์ และชไมพร อินทร์แก้ว. (2561). การศึกษาความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 20(3), 14-25.

ศิริพร ศิริรัตน์ และคณะ. (2558). โครงการเบญจวิถีนำทางสรรสร้างครอบครัวต้นแบบสายใยรักของศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จังหวัดราชบุรี เป็นการศึกษาในพื้นที่บ้านโป่งกระทิงบน ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 2236-2254.

สงวน ศรีสุข. 2551. คู่มือการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน โครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม. สงขลา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). การประเมินโครงการอย่างไรให้มีคุณภาพ : ความคลาดเคลื่อนในการประเมินโครงการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 7(1), 17-21.

สมจิตร ขวัญแดง. (2560). สภาพปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้น 23 มีนาคม 2565, จาก www.onec.go.th

อนันตชัย ทองปาน. (2564). การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพด้านการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้รูปแบบ CIPPIEST. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield A. J. (2007). Evaluation theory, models & applications. San Francisco: Jossey-Bass.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607– 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31