พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราว ร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ผู้แต่ง

  • ธเดช ศรีสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมาน งามสนิท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, การพัฒนาประสิทธิผล, การบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้อง ทุกข์ของรัฐบาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล 3) นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการ วิจัยแบบผสานวิธี วิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.990 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน สุ่มตัวอย่างตามวิธีการของยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้านสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าถดถอยพหุคูณ วิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการบริหารจัดการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.73) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล พบว่า 1) กระบวนการบริหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก( gif.latex?\bar{x}=3.66) พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผล พบว่า 1) กระบวนการบริหาร มีระบบตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีมาตรฐานและระยะเวลาชัดเจน ควบคู่กับการนำหลักอิทธิบาท 4 2) หลักอิทธิบาท 4 คือ ด้านฉันทะ มีความเต็มใจในการให้บริการอย่างเป็นมิตร พร้อมให้ความช่วยเหลือ ร่วมกับด้านวิริยะ คือ มีความพยายามอย่างละเอียด รอบคอบ ด้านจิตตะ คือ การให้บริการที่ดี อธิบายทำความเข้าใจสิทธิด้านกฎหมายอย่างชัดเจน มีความรับผิดชอบ และด้านวิมังสา คือ จัดการเรื่องร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์ และแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

References

ประสงค์ หัสรินทร์. (2560). รูปแบบพุทธวิธีการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการตามกรอบพันธกิจมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุริยา อภิวฑฒโน (มะสันเทียะ). (2564). ประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11. (หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิศณุพงศ์ กล้ากสิกิจ (2562). ต้นแบบการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกำแพงเพชร (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการประชาชนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร. (2562). รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). สรุปเรื่องร้องทุกข์/แสดงความคิดเห็นจากประชาชนที่ใช้บริการผ่านช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ 1111 ประจำเดือนเมษายน 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อลงกต สารกาล. (2562). บทวิเคราะห์การบริหารงานภาครัฐไทย: จากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01