แนวทางการสร้างความผูกพันในองค์กรของจิตอาสา สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ
คำสำคัญ:
การสร้างความผูกพันในองค์กร, จิตอาสา, สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). ศึกษาสภาพความผูกพัน 2). ศึกษากระบวนการสร้างความจงรักภักดี 3). เพื่อสร้างแนวทางการสร้างความผูกพันในองค์กร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือวิจัย และมีผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยทำการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารและพนักงานขององค์กร ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเป็นจิตอาสา สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ จำนวน 11 คน และมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์หาข้อสรุป
ผลการศึกษาพบว่า 1). สภาพความผูกพันในองค์กรของจิตอาสา มีจุดแข็งคือ เป็น องค์กรระดับชาติ มีความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ทำงานทุกด้าน จุดอ่อน คือ ไม่มีโครงสร้างปฏิบัติงานที่ชัดเจน ขาดการสื่อสาร เชื่อมโยงภายในภายนอกองค์กร และอุปสรรค คือ ขาดการเชื่อมต่อกับองค์กรส่วนกลาง ประสานงานยาก 2). กระบวนการสร้างความจงรักภักดี ความศรัทธาที่มีต่องานสงเคราะห์ของสมาคมสภาสงเคราะห์ฯ 3). แนวทางการสร้างความผูกพันในองค์กร ส่งเสริมจิตอาสามีความภาคภูมิใจในตนเองของการได้ทำความดี การได้ช่วยเหลือสังคมใกล้ตัว และสังคมส่วนรวม ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รู้สึกภูมิใจในการถูกยอมรับ จากสังคมการทำงาน และได้รับความภาคภูมิใจในการดำเนินชีวิต จากผลงานในการเป็นจิตอาสา ของ สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์ฯ
References
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.(2551). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 6 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
บุษราภรณ์ ติเยาว์ และคณะ. (2561). ขบวนการจิตอาสา : การขัดเกลาทางสังคมกับการพัฒนาตนของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(เพิ่มเติม), 67-78.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2550). แผนที่ความดี ฉบับไพบูลย์วัฒนศิริธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน.
มณีนัย ทองอยู่. (2557). แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาว่าด้วยขบวนการทางสังคม. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลลิตา จันทร์งาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กลุ่มลูกค้าบุคคล (การศึกษาอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เวทิญาณ์ เจษฎาถาวรวงศ์ และอมรินทร์ เทวตา. (2561). ความผูกพันต่อองค์การของเภสัชกรที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐ บริการสุขภาพที่ 1 พบว่า ความผูกพันต่อองค์การ เภสัชกรมีความผูกพันต่อองค์การในระดับสูง. Humanities Social Sciences and arts, 12(5), 941-954.