พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมธรจิรชาติ พุทฺธรกฺขิโต (โนรี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, ประสิทธิผลการบริหารงาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กร2. ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริหารงาน และ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการที่ส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงาน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เชิงคุณภาพ สัมภาษณ์แบ่งเป็น 5 กลุ่ม จำนวน 18 รูปหรือคน และเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน 823 คน กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวน ของ Taro Yamane ได้จำนวน 270 คน วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์นำข้อมูลมาเรียบเรียง และจำแนกอย่างเป็นระบบ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.44) 2. หลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการบริหารงานขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การดำเนินงาน 3) การประสานงาน 4) การตรวจสอบ 5) การแก้ไขและพัฒนา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหลักอิทธิบาท 4 1) ฉันทะ 2) วิริยะ 3) จิตตะ 4) วิมังสา ปัจจัยที่เสริมประสิทธิผลการบริหารงาน 6 ด้าน 1) ผลการบรรลุเป้าหมายตามข้อบัญญัติ 2) ผลสำเร็จของการเก็บรายได้ 3) ผลสำเร็จการเบิกงบประมาณรายจ่าย 4) ผลสำเร็จที่ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานอื่น 5) ผลสำเร็จโครงการต่อองค์กรและประชาชน 6) ผลสำเร็จที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560) สืบค้น 25 มกราคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/index.jsp.

คติยา อายุยืน. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะบุคคลตามหลักพุทธธรรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชุมชนแม่บ้านกรมโยธาและผังเมือง.(2560) โครงการศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจงานวาง/ปรับปรุงผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน. สืบค้น 22 มกราคม 2564, จาก http://eservices.dpt.go.th.

ถนัด ไชยพันธ์. (2560). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี (ดุษฎีพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปกรณ์ มหากันธา. (2557). รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี (2560). วิเคราะห์บริบทความท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหาร ท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมท้องถิ่นในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช.

ผดุง วรรณทอง และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารองค์กรเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 99-100.

พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2(3), 94-95.

พระมหาสมเด็จ มหาสมิทฺธิ (อัตสาร). (2559) กลยุทธ์การส่งเสริมความโปร่งใสตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พลภัทร ช่างสากล. (2558). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรพล วรสุวรรณโรจน์. (2559). การทำงานเป็นทีมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรณัฐ โรจนประภา. (2559). การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสังคมแห่งสัมมาปัญญาในประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 217-231.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี. (2563) สืบค้น 26 มกราคม 2564,จาก http://chanthaburilocal.go.th.

สุขอุษา นุ่นทอง. (2560). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษานอกสถานที่ตั้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ. (2561). การกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฉลิมชัยการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20