ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมธรจิรชาติ พุทฺธรกฺขิโต (โนรี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, อิทธิบาท 4, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของปัจจัยที่ส่งเสริมสภาพการบริหารงาน ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริหารงาน และนำเสนอปัจจัยที่ส่งเสริมการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประชากรได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวนกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรคำนวน ของ Taro Yamane ได้จำนวน 270 คน วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยนำข้อมูลมาเรียบเรียง และจำแนกอย่างเป็นระบบจากนั้นนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย สมมติฐานที่ 1 พบว่า การบริหารจัดการ มี 2 ด้านมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .287 ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ เท่ากับ 0.082 สัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่ปรับแล้วเท่ากับ .075 และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการตัดสินใจ เท่ากับ .330 แสดงว่า ด้านการบริหารจัดการ สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารจัดการ ได้ร้อยละ 8.2 สมมติฐานที่ 2 พบว่า หลักอิทธิบาท 4 มี 1 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 คือด้านวิมังสา (การทำงานด้วยความเข้าใจ) พบว่า ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .586 ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ เท่ากับ .343 สัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่ปรับแล้ว เท่ากับ .340 และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการตัดสินใจ เท่ากับ .812 แสดงว่า หลักอิทธิบาท 4 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ได้ร้อยละ 34.3

References

คติยา อายุยืน. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะบุคคลตามหลักพุทธธรรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ตอนบน (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จริยา มหายศนันทน์. (2558). การพัฒนาบทบาทและหน้าที่ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปัญม์ณิสาธ์ องค์ปรัชญากุล. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของ กลุ่มบริษัทประกันภัยตามนโยบายของสานักงานคณะกรรมการกากับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2(3), 94-108.

พระพิพัฒน์ โสภณจิตฺโต (ทับงาม). (2563). การบริหารจัดการสานักปฏิบัติธรรมประจาจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8(1), 222-232.

พระมหาสมเด็จ มหาสมิทฺธิ (อัตสาร). (2559). กลยุทธ์การส่งเสริมความโปร่งใสตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการธวัชชัย คมฺภีรโต (แสงโสภณ). (2563). พุทธวิธีการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาส ภาสสัทธา. (2557). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อความโปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตรี พรมวัน. (2563). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี. (2563). จำนวนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี. สืบค้น 26 มกราคม 2564, จากhttp://chanthaburilocal.go.th/public/history/data/ index/menu/22.

สุภัทรชัย สีสะใบ. (2562). การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลพุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ. (2561). การกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฉลิมชัยการพิมพ์.

Yamane, Taro. (1970). An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Sisk. Timothy D. (2001). Democdracy at the local level: the international IDEA handbook on participation, representation, conflict management, and governance. Stockholm: International Institute for democracy and electoral assistance.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20