การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจ เลือกตั้งท้องถิ่นในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พระกันตภณ ปญฺญาทีโป (จันทร์พิมพ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การตัดสินใจ, เลือกตั้งท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม เปรียบเทียบการมีส่วนร่วม และ ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 363 คน  โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 3,853 คน จากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นในอำเภอบ้านฉาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ข้อเสนอแนะ ประชาชนต้องมีความพร้อมเพียงในการออกไปใช้สิทธิในการออกไปเลือกตั้งตามหน้าที่ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญสังคมการเมืองจะไม่เสื่อมจากผู้นำที่ดี ประชาชนต้องให้ความสำคัญในการตัดสินใจไปเลือกตั้งเพราะเห็นประโยชน์จากการเลือกตั้ง และเป็นการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

References

กองราชการส่วนตำบล. (2560). ข้อมูลสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์, 16(1), 151-161.

พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาณัฐพล กิตฺติปญฺโญ (อรรถารส). (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล กองราชการส่วนตำบล. (2560). ข้อมูลสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล.

พระสร้อยทอง ปญฺญาวุโธ (ประทุมทอง). (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2560. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560.

วิจิตร เกิดน้อย และคณะ. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 129-139.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักทะเบียนสำนักงานอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง. (2562). แหล่งรวบรวมกฎหมายและระเบียบทางราชการที่เกี่ยวข้องกับน้ำที่บังคับใช้ในปัจจุบัน. สืบค้น 25 ธันวาคม 2564, จาก http://hydrolaw.thaiwater.net/web

สุทน ทองเล็ก. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพัตรา สุภาพ. (2556). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

Best, J. W. (1981). Research in Education. New Jersey: Pretice-Hall.

Yamane Taro. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20