พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, การส่งเสริม, ภาวะผู้นำ, นักการเมืองท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะผู้นำ การส่งเสริมภาวะผู้นำ และการบูรณาการหลักธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1.คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.57) 2.การส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.52) 3.การบูรณาการหลักปาปณิกธรรม เพื่อการส่งเสริมภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดสระบุรี ดังนี้ ด้านจักขุมา ( =4.63), มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น ฉลาดในการวางแผน ด้านวิธูโร ( =4.47) มีความชำนาญในการจัดการบริหารท้องถิ่น ด้านนิสสยสัมปันโน ( =4.63) มีมนุษย์สัมพันธ์กับภายนอกสร้างเครือข่ายการพัฒนาจากภายนอกสู่ภายในให้กับท้องถิ่น
References
จตุพร ผ่องสุข. (2550). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่างอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนสรร ธรรมสอน. (2558). ภาวะผู้นำทางการเมืองของนายกเทศมนตรีในการบริหารเทศบาลตำบล ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10 (1), 171-190.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.
พงษ์ชัย นิรมิตศรีชัย. (2558). การประยุกต์ใช้หลักภาวะผู้นำเชิงพุทธในสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2563). การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุวรรณ์ แก้วนะ. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาล ในจังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จังหวัดสระบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562. สืบค้น 15 มกราคม 2564, จาก WWW : HTTPS://TH.WIKIPEDIA.ORG/WIKI.
Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.