แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานประจำ ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แผนกส่งออก อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นาธัส จีนเชื้อ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติ บุญยโพ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ตระกูล จิตวัฒนากร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, พนักงานประจำ, บริษัทเอกชน, อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ชิ้นส่วนยานยนต์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ 2.) เพื่อหาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรในบริษัทเอกชน อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ชิ้นส่วนยานยนต์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ ใช้ทรัพยากรมนุษย์ในการปฏิบัติงาน พนักงานประจำในไลน์ผลิต พนักงานออฟฟิศ หัวหน้าพนักงานประจำในไลน์ผลิตใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คน โดยใช้การทำแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมานโดยใช้โดยใช้สถิติ t-test และOne-Way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31-40 ปี การศึกษามัธยมตอนปลาย อายุงาน1 – 5 ปีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท 2. ระดับความคิดเห็นของปัจจัยแรงจูงใจพบว่าระดับความคิดเห็นของแรงจูงใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.91,SD=0.777) 3. ระดับความคิดเห็นของประสิทธิภาพการทำงานพบว่า ระดับความเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.01,SD=0.714) 4. การทดสอบสมมติฐาน พบว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานประจำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางระดับสถิติ .05 และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานได้แก่ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติด้านความรับผิดชอบและด้านความก้าวหน้ามีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานประจำและมีความผันแปรในการส่งผลได้ร้อยละ 79.9

References

กมลวรรณ ปานประดิษฐ์. (2560). แรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอป่าโมกจังหวัดอ่างทองศึกษา (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และนพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2562). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 (หน้า 1615-1634). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชัชรินทร์ ทองหม่อมราม และ บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2562). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(1), 118-139.

ฐิติพร เสถียรพันธุ์ และพนิตา สุรชัยกุลวัฒนา. (2561). แรงจูงใจที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไทยเคียววะไบโอเทคโนโลยีส์ จำกัด. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 (หน้า 82-89). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ปริญญา พรเพ็ง. (2553). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ (ฝ่ายผลิต) กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนถึงลมนิรภัยนิคมอุตสาหกรรม 304 (ปัญหาพิเศษอุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์. (2565). ยอดส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน เดือน ส.ค. 2565.สืบค้น 30 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.mreport.co.th/news/statistic-and-ranking/357-Thailand-Automotive-Export-2022-August.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ) สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03