ปัจจัยทางการเมืองที่ส่งเสริมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
ปัจจัยทางการเมือง, การดำเนินงาน, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 2. เปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3. เสนอแนะแนวนโยบายทางการเมืองที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 369 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. เพศ อายุ และสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนไม่แตกต่างกัน แต่ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. แนวนโยบายทางการเมืองที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน จัดหาแหล่งเงินทุน และสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ ศักยภาพด้านกระบวนการผลิต และทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากระบวนการดำเนินงาน ความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสมัยใหม่ กำหนดในแผนพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุนหรือช่วยเหลือปัจจัยพื้นฐาน ส่งเสริมให้มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เข้าใจ และสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน
References
กันตภณ หนูทองแก้ว และพระศรีธรรมประสาธน์ (สุทธิพล กิตฺติปาโล). (2562). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุในโครงการประชารัฐเพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนศรีธรรมโศก จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 1011-1031.
จิรพร มหาอินทร์ และคณะ. 2554. การดำเนินงานและสงเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน. กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้า และเครื่องแต่งกาย จังหวัดปทุมธานี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ชัชพงศ์ เทียมทันวณิช และวรเชษฐ์ โทอึ้น. (2561). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านห้องพอก ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 212-226.
พัชราวดี ศรีบุญเรือง. สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และภัทราพร ช่วยเมือง. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นองค์กรอัจฉริยะของวิสาหกิจชุมชนเกษตรรุ่นใหม่. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(1), 34-41.
ภิญญภัค สินรา. (2561). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบเศษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา. (2564). การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(3), 264-276.
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอน 82 ก. หน้า 1.
สนิทเดช จินตนา และธีระพงษ์ ภูริปาณิก. (2563). ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 12(3), 179-194.