กูแน่
คำสำคัญ:
กูแน่, หลักพุทธธรรม, โรคทางกายและทางใจ, การดูแลสุขภาพบทคัดย่อ
กูแน่ เป็นหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพในแนวธรรมชาติ และการแพทย์แบบผสมผสาน (การแพทย์ทางเลือก) ที่ให้ความรู้และข้อฉุกคิด ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข เน้นว่าวิธีคิดและจิตใจมีความสำคัญและส่งผลต่อสุขภาพกาย ความคิดลบคือยาพิษ และยิ่งคิดว่า กูแน่ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากบุคลิกภาพแบบที่คิดว่ากูแน่ (ก้าวร้าว อหังกา ทะเยอทะยาน) คือคิดในเรื่องอัตตาตนเองมากเพียงใด ก็ยิ่งเพิ่มพิษในจิตใจและร่างกาย บทวิจารณ์ครั้งนี้ มุ่งเฉพาะแก่นของสาระในหนังสือร่วมกับการใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งการดูแลสุขภาพในพระไตรปิฎก ก็ชี้ชัดว่าการเจ็บป่วยทางกายเชื่อมโยงและมีผลต่อจิตใจ จำเป็นต้องดูแลสุภาพแบบองค์รวม ด้วยการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับกระบวนการดูแลสุขภาพ คือรู้จักตนเอง รู้จักร่างกาย และรู้จิต การสวดมนต์ภาวนาก็ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจต่อความเจ็บปวด ทำให้ความปวดลดลง รวมถึงรักษาโรคได้ การปฏิบัติตามหลักการของไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ และปัญญา จะช่วยเตรียมพร้อมความเข้าใจต่อความตาย ความทุกข์ต่างๆในชีวิต และยอมรับความตายได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ หลักการรับคนป่วยรักษาของผู้เขียน โดยเรียกความเชื่อมั่น มั่นใจต่อวิธีการรักษา รับรู้ขั้นตอนการปฏิบัติ และฝึกคิดบวกกับตนเอง ก็เป็นแนวปฏิบัติของแพทย์พื้นบ้านล้านนาที่สืบทอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
เกษม ศิริรัตน์พิริยะ. (2565, 13 กุมภาพันธ์). แพทย์แผนไทย และพ่อครู ผู้สืบขันครูพระสิหิงค์หลวง พระครูอินทสรวิสุทธิ์ (ครูบาอินสม) วัดเมืองราม ตำบลนาเหลือง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน [บทสัมภาษณ์].
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ). (2548). ตัวกู ของกู ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2534). โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565, จาก https://www.watnyanaves.net/uploads
______. (2541). ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565, จาก https://www.watnyanaves.net/upload
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยศพล เหลืองโสมนภา และศรีสุดา งามขำ. (2556). ความสนใจต่อความปวด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(1), 83-93.
ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร. (2018). การยอมรับความตาย. Chula Med J, 62(5), 761-772.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.hsri.or.th
สาทิส อินทรกำแหง. (2541). กูแน่ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: คลินิกบ้านและสวน.
สุมาลี นิมมานนิตย์. (2548). อัศจรรย์แห่งโพชฌงค์ 7. สืบค้น 20 มิถุนายน 2565, จาก https://www.doctor.or.th/ article/
เสถียรโกเศศ นาคะประทีป. (2541). หิโตปเทศ คารม พ.ศ. 2459. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.