รูปแบบการสื่อสารด้านนโยบายโครงการคนละครึ่งที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
คำสำคัญ:
การสื่อสาร, นโยบาย, โครงการคนละครึ่ง, ภาพลักษณ์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการสื่อสารด้านนโยบายโครงการคนละครึ่งที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารด้านนโยบายโครงการคนละครึ่ง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารด้านนโยบายโครงการคนละครึ่งที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสื่อสารด้านนโยบายโครงการคนละครึ่งที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.58, S.D. =0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบผลการศึกษาดังนี้ รูปแบบการสื่อสารด้านนโยบายโครงการคนละครึ่งที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบเพียง 1 ด้านคือ ด้านเนื้อหาสาร โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 50 และปัจจัยการสื่อสารด้านเจตคติ สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 91 และด้านระดับความรู้สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 64 การศึกษานี้สามารถนำไปเป็นแนวทางและกำหนดกลยุทธ์ให้แก่รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐได้
References
กระทรวงการคลัง. (2563). โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและโครงการคนละครึ่ง. สืบค้น 28 กันยายน 2565, จาก http://www.fpo.go.th/main//News/Press-conference/13487.aspx.
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เปิดสถิติจังหวัดใช้จ่ายคนละครึ่งเฟส 3 สูงสุด. สืบค้น 28 กันยายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/958244
จิราภรณ์ ขุนศรี. (2555). บทแนะนำหนังสือ สื่อเก่า-สื่อใหม่ สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. วารสารวิทยาการจัดการ, (7)1, 106-110.
ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่มาจากการยึดอำนาจภายใต้วิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 15-25.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลลภ วรรณโอสถ. (2561). ปัจจัยด้านการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 971-982.
เสนาะ ติเยาว์. (2541). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุวัฒน์ โพธิ์ทอง และกัลยกร วรกุลลัฏฐานีย์. (2564). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชน. Media and Communication Inquiry, 3(3), 12-24.
อรินทร์ เจียจันทร์พงษ์. (2561). บทบาทของสื่อไทยในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3), 2632-2647.
อัญดา หลงหมาด และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของนโยบายโครงการคนละครึ่งของประชาชนชาวไทยในภาคใต้. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 1822-1830. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อานันท์ เกียรติสารพิภพ. (2564). โครงการคนละครึ่ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักวิชาการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.