การพัฒนาองค์กรตามแนวพุทธ : กรณีศึกษา แนวคิดการสร้างโซล่าเซลล์ของเจ้าคุณเสียดายแดด (พระปัญญาวชิรโมลี) เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม

ผู้แต่ง

  • พระครูวิธานธรรมสุนทร (บังเอิญ พลวโร) วัดวงษ์พัฒนา จังหวัดตราด

คำสำคัญ:

การพัฒนา, องค์กร, พุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การพัฒนาองค์กรตามแนวพุทธศาสนาประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ 1.การพัฒนาบุคลากรหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ในองค์กรโดยเน้นหลักธรรมพระพุทธศาสนาคือพัฒนากายและพัฒนาจิตใจ 2.การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ปกครองหรือผู้บังคับบัญชาโดยการสร้างวิสัยธรรมนำวิสัยทัศน์และประกอบด้วย (1) เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (2) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสาร (3) เป็นผู้ที่มอบอำนาจให้กับผู้ปฏิบัติงาน (4) เป็นผู้ที่เข้าใจตนเอง และประกอบหลักภาวะผู้นำแนวพระพุทธศาสนา คือ พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย 1) เมตตา ความรัก ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้ามีความรักและห่วงใยต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ทำงานด้วยความรับผิดชอบสั่งงาน 2) กรุณา ความสงสาร ผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีความสามัคคีกันและกันช่วยแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน 3) มุทิตา (ความพลอยยินดี) ในบางโอกาสที่เหมาะสมมีการให้รางวัล หรือแสดงความยินดียกย่องผู้ที่ทำงานดี 4) อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) คือ องค์กรมีการปลูกฝังให้รับผิดชอบต่อสังคม 3.บริหารโดยการบริหารตามแนวพุทธ 1)ศรัทธา มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ไม่หูเบา 2) ฉันทะ ความชอบ ความพึงพอใจ 3) วิริยะ ความเพียร ไม่ทอดทิ้งธุระเสียกลางคัน 4) สมาธิ บุคลากรในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีสมาธิในการทำงาน 5)สันโดษ ความพอใจในสิ่งที่ตนเองมี หมายถึง ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

References

เฉลียว บุรีภักดี. (2553). ทฤษฎีระบบและการประยุกต์ใช้ในการพัฒนา. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ไทยแลนด์พลัส.(2564). “เจ้าคุณเสียดายแดด” นำทีม อาจารย์ วิศวะ จุฬา-มหิดล เยือนแปลง CLM “โคก หนอง นา พช.”. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://www.thailandplus.tv/archives/380385.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). ภาวะผู้นําเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: นิติธรรมการพิมพ์.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2552). หลักธรรมาภิบาลและประมุขศิลป์ : คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

พิทยา บวรวัฒนา. (2546). การบริหารเชิงบูรณาการ. นนทบุรี: สานักงานข้าราชการพลเรือน.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). เยาวชนกับความรอดของสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2537). การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (บาลี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัลลิกา ต้นสอน. (2544). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

วัชรี บูรณสิงห์. (2543). การบริหารหลักสูตร พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก). (2527). สมเด็จฯ คิด-เขียน-พูด-เทศน์. กรุงเทพฯ: เจริญรัฐการพิมพ์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์ และชาย สัญญาวิวัฒน์ (2550). การบริหารจัดการแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลวงวิจิตรวาทการ. (2532). กุลโลบายสร้างความยิ่งใหญ่. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาส์น.

ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง. (2561). การพัฒนาองค์กร. สืบค้น 15 มกราคม 2566 จาก https://shorturl.asia/zr9MU.

Don et al. (1998). Organizational Behavior (8th ed.). Ohio: South-Western College Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01