บทวิจารณ์หนังสือ : ภาวะผู้นำ 5 ระดับ
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ผู้นำ, 5 ระดับบทคัดย่อ
ภาวะผู้นำ 5 ระดับ เป็นหนังสือที่จอห์น ซี แม็กซ์เวลล์ นำเสนอภาวะผู้นำตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งยังแบ่งภาวะผู้นำออกเป็นระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงและหัวใจสำคัญของภาวะผู้นำแต่ละระดับ ภาวะผู้นำทั้ง 5 ระดับมีดังนี้ ระดับที่ 1 ตำแหน่งหน้าที่ ระดับที่ 2 การยอมรับ ระดับที่ 3 การสร้างผลงาน ระดับที่ 4 การพัฒนาคน ระดับที่ 5 จุดสูงสุด
ซึ่งผู้วิจารณ์มองว่า ภาวะผู้นำทั้ง 5 ระดับเป็นหลักทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารคน บริหารตน บริหารงานได้ ในระดับที่ 1 ผู้นำจำเป็นต้องใช้เวลาในการสั่งสม ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ทัศนคติ รวมถึงประสบการณ์ ความยอมรับ ในองค์กรผ่านการวางนโยบาย วิสัยทัศน์ ขององค์กร ในระดับที่ 2 ผู้นำที่จะได้รับการยอมรับ ต้องมีศิลปะในการบริหารตน คือทำตนให้เป็นตัวอย่างทุกๆมิติ บริหารคนให้เข้าใจในการทำงาน ในระดับที่ 3 เป็นผู้นำที่สร้างความน่าเชื่อถือ ให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้นำได้กำหนดนโยบาย พันธกิจ ที่ชัดเจนไว้ ในระดับที่ 4 ผู้นำจำเป็นจะต้องรู้ศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และในระดับที่ 5 ผู้นำที่เกิดจากสัญชาตญาณที่เกิดจากความฝึกฝนแนวคิดและการทำงานร่วมกับคนอื่นโดยมีการเรียนรู้อยู่ตลอด และ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่สำคัญ
References
จอห์น ซี แม็กเวลล์ (JOHN C. MAXWELL), วันดี อภิรักษ์ธนากร (แปล). (2555). ภาวะผู้นำ 5 ระดับ THE 5 LEVELS OF LEADERSHIP (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เนชั่นส์บุ๊คส์.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร (พิมพ์พิเศษ 5 ธันวาคม 2549). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). หลักธรรมาภิบาลและประมุขศิลป์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มงคลชัยพริ้นติ้ง.
พัชนี วรกวิน. (2544). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูจันทรเกษม.
ศิริพร พูนชัย. (2551). ผู้นำและภาวะผู้นำ. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2566, จาก www.ratnc.th.
โสภา ชูพิกุลชัย และคณะ. (2515). เทคนิคการให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
หน่วยราชการในพระองค์. (2565). พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://shorturl.asia/4hc8p.
หลวงวิจิตรวาทการ. (2532). กุลโลบายสร้างความยิ่งใหญ่. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาส์น.