บทบาทวัดกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมไทย ตามแนวพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
บทบาทวัด, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุในสังคมไทยบทคัดย่อ
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มหนึ่งที่ใหญ่และช่วยอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาโดยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นหลักในการนำลูกหลานให้สืบทอดและเข้าใจคำสอนทางพุทธศาสนา ผู้สูงอายุจึงมีอิทธิพลที่รับคำสอนจากพระสงฆ์แล้วสืบทอดและบอกต่อให้แก่ลูกหลานได้ บทบาทวัดกับผู้สูงอายุจึงมีเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดเองก็มีกิจกรรมที่ที่ทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมร่วมกันใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสร้างองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนาได้ต่อยอดให้คุณภาพของผู้สูงอายุมีความดีขึ้นตามลำดับไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมตามเทศกาลหรือกิจกรรมที่วัดจัดขึ้น
วัดมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพกายและคุณภาพจิตใจของผู้สูงอายุ ให้เห็นคุณค่าในตนเองและให้รู้สภาวะจิตที่เกิดขึ้น ทั้งอารมณ์เป็นการควบคุมด้านสภาวะทั้งร่างกายและจิตใจให้อยู่ในปัจจุบันและสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยการสวดมนต์ ภาวนา ทำสมาธิมาใช้ทำให้ผู้สูงอายุ ไม่โดดเดี่ยว ไม่เหงาและสามารถใช้ชีวิตในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข การประยุกต์หลักภาวนา 4 ดังนี้ 1. ด้านกายภาวนา 2. ด้านสีลภาวนา 3. ด้านจิตตภาวนา 4. ด้านปัญญาภาวนา ได้แก่ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตด้วยปัญญา และปัจจัยหลักที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. การออกกำลังกาย 2. อาหาร 3. งดการสูบบุหรี่ 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 5. ลดความตึงเครียด 6. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี 7. การทำกิจกรรมที่ท้าทาย
References
กชกร สังขชาติ. (2538). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
กรมการปกครอง. (2564). ประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://e-service.dra.go.th/religion/buddhism?type=10
กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). วัดพัฒนา 45. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
เกษม และกุลยา ตันติผลาชีวะ. (2548). การรักษาสุขภาพในวัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ. (2536). การพยาบาลผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูศักดิ์ เวชแพทย์ .(2538). สรีรวิทยาของผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์.
ทรู ปลูกปัญญา. (2564). คุณประโยชน์ของการสวดมนต์ ไหว้พระทำสมาธิ. สืบค้น 2 มีนาคม 2566, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge
บรรลุ ศิริพานิช. (2542). คู่มือผู้สูงอายุ ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย.
พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (บุญเลิศ เตชปุญฺโญ). (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชิต คนึงสุขเกษม. (2546). การออกกำลังกายกับสุขภาพหัวใจ. วารสารใกล้หมอ, 19(4), 95-104.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย : วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2548). วัดพัฒนา 48. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อาภา ใจงาม. (2538). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันบรมราชชนก.