การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยหลักทางสายกลาง (อริยมรรคมีองค์ 8) และหลักสัปปายะ ในยุคโลกาภิวัฒน์

ผู้แต่ง

  • พระครูปราการคีรีรักษ์ (ประเสริฐ สจฺจวโร) วัดด่านสิงขร
  • พระครูวิมลโสมนันท์ (โชคชัย อุคฺคเสโน) วัดด่านสิงขร

คำสำคัญ:

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, หลักทางสายกลาง (อริยมรรคมีองค์ 8) และหลัก สัปปายะ, โลกาภิวัฒน์

บทคัดย่อ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของวัดหรือพระสงฆ์ ส่วนมากเป็นการจัดการเทศนาอบรมสั่งสอนประชาชนให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติเพื่อเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัดจะต้องทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยการนำหลักทางสายกลางและหลักสัปปายะในยุคโลกาภิวัฒน์มาประยุกต์ใช้กับหลักการดำรงชีวิตพื้นฐานของประชาชน เพราะการที่จะทำให้วัดกลับมาเป็นศูนย์กลางชุมชนเช่นเดิมนั้น จำเป็นที่วัดแต่ละแห่งจะต้องช่วยกันพัฒนาทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ของชุมชนนั้น ๆ พระสงฆ์ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาจิตใจ เพราะการสร้างความเข้มแข็งในเรื่องของจิตใจโดยใช้หลักทางสายกลางเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและมีความคิดที่นำไปสู่การพัฒนาได้ส่วนเรื่องของสัปปายะเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตเมื่อมีความพร้อม หรือไม่เดือดร้อนในการดำรงชีวิตแล้วก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัย หรือการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทยได้ หลักธรรมทั้งสองข้อนี้จึงเป็นหลักธรรมที่สามารถตอบโจทย์สังคม เศรษฐกิจและนำมาเผยแผ่ได้ในยุคโลกาภิวัตน์และสามารถใช้ได้จริงในการดำรงชีวิตปราศจากการคอรัปชั่น ทุจริต หรือทำให้ชีวิตมีความปลอดภัย มีความมั่นคง และ มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไปได้

References

พระครูพิศาลธีรธรรม (ธีรพล ธีรพโล). (2555). ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยผ่านกระบวนการศึกษา ในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง (พิมพ์ครั้งที่ 86). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2535). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2552). ธัมมจักกัปปวัตนสูตร. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับ (ภาษาไทย) ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______. (2539). พระไตรปิฎกฉบับ (ภาษาบาลี) ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2561). วิสุทธิมรรคแปลภาค 1 ตอน 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม. (2553). คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2553). สมาธิหลักของใจ. สืบค้น 7 มีนาคม 2566,จาก http://www.watsraket.com/smati/277-2009-10-10-09-47-33

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). หนังสือประกอบงานอีสานสร้างสุข ปี 51-52 พระสงฆ์กับสุขภาวะ. อุบลราชธานี: วีแคน เซอร์วิส เอ็กซ์เพรส.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2543). ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ. 2543. สืบค้น 7 มีนาคม 2566, จากhttps://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/6/iid/559

อเล็กซานเดอร์ เบอร์ซิ่น. (2566). พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน. สืบค้น 6 มีนาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/pmvbG

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08