แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในสถานการณ์เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารกิจการนักเรียน, สิทธิ, เสรีภาพบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิธีแสดงออกถึงการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีช่วงวัยแตกต่างกันต่อการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของและ 3. เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในสถานการณ์การเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา ด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนา โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักในเขตพื้นที่ที่ศึกษาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน วิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis) -test) โดยใช้แผนภูมิก้างปลาเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยของการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร/วรรณกรรม/แบบสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์แก่นสาระ เพื่อทำการสังเคราะห์ แยกแยะ ตีความ และสรุปประเด็นสำคัญของบทสัมภาษณ์ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1. การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในปัจจุบันมีวิธีการเรียกร้อง โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการแสดงออกถึงข้อเรียกร้องและความต้องการของนักเรียน 2. เมื่อเทียบมมุมมองของผู้บริหารและครูที่มีช่วงวัยแตกต่างกันถึงความเหมาะสมของการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพภายในโรงเรียน โดยครูต่างช่วงวันมีแนวคิดในทิศทางเดียวกันว่าสามารถกระทำได้ถือเป็นสิ่งที่ไม่ได้ผิดระเบียบแต่ต้องมีขอบเขต 3. แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนในภาพรวมมีความเห็นที่ตรงกันของผู้บริหาร ครู นักเรียน และศิษย์เก่า ควรพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นการบริหารโรงเรียน การออกนโยบายที่ส่งผลกับนักเรียนควรให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่ง สำคัญคือส่วนร่วมของนักเรียน
References
ชลธิชา ทักษิณเวศน์. (2565). เด็กทำผิด ต้องรับโทษยังไงบ้าง? ชวนดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับผิดของเด็กและเยาวชน. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/zIQWA
ดาริกา ศรีพงษ์พันธุ์กุล. (2558). แนวคิดใหม่ในการลงโทษผู้ใช้ให้เด็กกระทำผิดทางอาญาแห่ง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์). ปทุมธานี: มหาลัยธรรมศาสตร์.
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก เรื่อง การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล. (2546, 2 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 95 ก. หน้า 1.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่อง สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 7.
สุภางค์ จันทวานิช. (2540) วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2554) การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การยูนิเซฟประเทศไทย. (2564). สิทธิในการเรียนรู้เพื่อเด็กทุกคน. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/6G4Tb
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101.
Freire, P. (1974). Cultural action for freedom. USA: Penguin Education.
Messner, S.F. & Rosenfeld, R. (2009). Institutional-Anomie Theory: A Macro-Sociological Explanation of Crime. New York: Springer Science Business Media.
Cohen, C. P., & Naimark, H. (1991). United Nations Convention on the Rights of the Child: Individual rights concepts and their significance for social scientists. American Psychologist, 46(1), 60–65.