แรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เบญญาพัฒน์ โกษะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • แสงจิตต์ ไต่แสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ความผูกพันองค์กร, บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันในองค์กรของบุคลากร 2. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันในองค์กรของบุคลากร จำแนกตามประเภทบุคลากร ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสังกัด 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในองค์กรกับแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 4. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประชากรในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 188 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ปัจจัยส่วนบุคคล ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและสังกัดไม่แตกต่างกัน สำหรับประเภทบุคลากรมีความแตกต่างกัน 3. ความสัมพันธ์ความผูกพันในองค์กรกับแรงจูงใจการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง
(r=0.843) และ 4. แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจของบุคลากร ได้แก่ สนับสนุนให้เข้ารับการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างขวัญกำลังใจ การมีส่วนร่วมในองค์กร มีคู่มือและเกณฑ์การวัดประเมินผลการปฏิบัติงาน

References

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรปารี อยู่เย็น. (2555). แรงจูงใจและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 201-215.

โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐมน พหลทัพ. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลดงลิง อำเภอเมืองกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศษสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นทร์.

นนทวัฒน์ อิทธิจามร. (2555). แรงจูงใจ : บทเรียนสำคัญที่สุดของความสำเร็จระดับตำนาน. กรุงเทพฯ: Book Maker.

นารีรัตน์ แก้วมณี. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา บุคลากรเทศบาลตำบลหนอง ไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มลฤดี เย็นสบาย. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

เสริน ปุณณะหิตานนท์. (2560). แรงจูงใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the intimal structure of tests. Psychometrical, 16(3). 297-334.

Likert, R., & Likert, J. (1976). New way of managing conflict. New York: McGraw – Hill.

Petri, H. & Govern, J. M. (2012). Motivation: Theory Research and Application (6th Edition). USA: Wadsworth Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08