การบริหารจัดการกรมราชทัณฑ์ให้เป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, กรมราชทัณฑ์, เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารจัดการกรมราชทัณฑ์ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการกรมราชทัณฑ์ และ 3. เพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ จำนวน 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และแนวปฏิบัติสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนตามโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนขององค์กรในมิติด้านสิ่งแวดล้อมเป็นลำดับแรก รองลงมา คือมิติด้านวัฒนธรรม มิติด้านสังคม และมิติด้านวัตถุ โดยปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความพอเพียง มี 3 ปัจจัย คือด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 43.90 และปัจจัยด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความพอเพียง มี 4 ปัจจัย คือ ด้านความพอเพียง ด้านความมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านความรู้ และด้านความมีเหตุผล เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 51.30
References
กรมราชทัณฑ์. (2566). แผนปฏิบัติราชการรายปี พ.ศ. 2566. สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก http://www.correct.go.th/wp-content/uploads/2022/04.pdf
กอบเกียรติ กสิวิวัฒน์. (2549). การบริหารงานราชทัณฑ์. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.
กัลยาณี เสนาสุ และบงกช เจตตรัสกุล. (2562). การบริหารราชการบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 19 มกราคม 2566, จาก www.multi.dopa.go.th/kpi
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช ธรรมปิยา. (2556). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
โชติ บดีรัฐ. (2558). เทคนิคการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณดา จันทร์สม. (2562). เศรษฐกิจพอเพียง:หลักคิดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้น 19 มีนาคม2566, จาก https://www.matichon.co.th/publicize
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
พระปลัดบุญเจิด สุจิตฺโต และคณะ. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(4), 1048-1057.
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย. (2565). แนวโน้มสถานการณ์เรือนจำโลกปี 2565 : บทสรุปผู้บริหาร. สืบค้น 22 เมษายน 2566, จาก knowledge.org/th
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2565). รายชื่อหน่วยงานที่ได้รับรางวัลในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. สืบค้น 25 มีนาคม 2566, จาก https://www.nacc.go.th
หนึ่งฤทัย มั่นคง และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในยุค Thailand 4.0. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 12(2),
-458.
Birkbeck, University of London. (2023). World Prison Brief data. Retrieved April 22, 2023, from https://www.prisonstudies.org/highest