ประสิทธิผลในการบริหารการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของสำนักเรียน วัดโมลีโลกยาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระมหาธฤติ เปี่ยมประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ศรัณย์ ฐิตารีย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การบริหาร, พระปริยัติธรรม, สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารและระดับประสิทธิผลในการบริหารการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม และ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการประเมินผล ต่อประสิทธิผลในการบริหารการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม ประชากร ได้แก่ พระภิกษุสามเณรในสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 494 รูป และได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 221 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยการบริหาร โดยภาพรวม มีความเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการนำ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการวางแผน และด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และระดับประสิทธิผลในการบริหารการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีประสิทธิผลในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบรรยากาศองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ความพึงพอใจ และด้านการติดต่อสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ปัจจัยด้านการวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการประเมินผล มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลในการบริหารการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

ขวัญเรือน เถื่อนแถว. (2559). ประสิทธิผลในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาส์น.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานิกร ฐานุตฺตโร (ศรีราช). (2561). ประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม. (2565). วันฉลองเปรียญธรรม ปีที่ 24. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

สำรวย พยอมใหม่. (2565). การติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬา

นาครทรรศน์, 9(7), 319-336.

สุภาพร มุ่งชัยภูมิ. (2558). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). ครูกับการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์. สืบค้น 5 เมษายน 2565, จาก https://sites.google.com/site/nilobonnoeyps

อุทัย เลาหวิเชียร. (2549). รัฐประศาสนศาสตร์ : ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08