การตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชาวไทยเชื้อสายมอญ ในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • นรพัชร เสาธงทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การตื่นตัวทางการเมือง, ชาวไทยเชื้อสายมอญ, อปริหานิยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการตื่นตัวทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานี และ 3. เพื่อประยุกต์หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานี วิจัยแบบผสานวิธี สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 24 รูปหรือคน วิจัยเชิงปริมาณโดยกำหนดเกณฑ์ 381 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการตื่นตัวทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานีอยู่ในระดับสูง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สภาพการตื่นตัวภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.97, S.D.= 0.98) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานี มีดังนี้ 1) วิถีชีวิตไม่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานี 2) หลักอปริหานิยธรรม ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานี สามารถทำนายได้ร้อยละ 36.0 3. การนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดปทุมธานีจำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะนามธรรม (การสร้างสำนึก) 2) การตื่นตัวทางการเมืองในลักษณะรูปธรรม (การเคลื่อนไหวทางการเมือง)

References

กรมการปกครอง. (2564) เขตการปกครองและจำนวนประชากร. สืบค้น 3 มกราคม 2564, จาก http://123.242.173.131/pathumthani_news/attach

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ. (2551). มอญ-เขมรศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เติมศักดิ์ ทองอินทร์.(2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหาความรุนแรงในการเมืองท้องถิ่นในจังหวัด ปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2 ฉบับพิเศษ พฤษภาคม), หน้า 159-172.

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย ที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธรรมรัตน์ ธรรมยาฤทธิ์. (2561). สภาพการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(2), 55-71.

พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ และสุรีย์พร สลับสี. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนต่อการปกครองท้องถิ่นในเทศบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2), 9-21.

พรรณี บัวเล็ก. (2565). วิถีชีวิตของคนในคลองบางเขน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, 16(1), 162-177.

พระมหานำเกียรติ วิสุทฺโธ. (2563). รูปแบบการใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารองค์กรเพื่อการพัฒนาชุมชนของวัดโพธิการาม ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(5), 1708-1720.

พระสมศักดิ์ สิทธาจารย์. (2556). ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการพระสงฆ์ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัลลภ สุริยกุล ณ อยุธยา. (2542). เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมอญ : กรณีศึกษาหมู่บ้านเจดีย์ทอง ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และคณะ. (2542). มอญบทบาทดานสังคม วัฒนธรรม ความเป็นมา และความเปลี่ยนแปลงในรอบ 200 ปี ของกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2551). การสื่อสารเพื่อสร้าง ธำรงรักษาและต่อรองอัตลักษณ์ความเป็นมอญของกลุ่มชาวมอญพลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: กรุงเทพมหานคร.

องค์ บรรจุน. (2559). บ้านทุ่งเข็น: ชุมชนชาติพันธุ์มอญร่วมสมัยแห่งสุพรรณบุรีชุมชน (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สหวิทยาการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุวัฒน์ ศรีษะเกษ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อการทำงาน กรณีศึกษาอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสาร MBUISC Journal มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยอีสาน, 1(1), 67-84

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08